このページの先頭ですサイトメニューここから
このページの本文へ移動
サイト内検索

  1. トップページ
  2. Legal Information for Foreign Nationals(外国人のみなさまへ)
  3. กิจการครอบครัว: การรับรองบุตร การเลี้ยงดูบุตร การเยี่ยมบุตร มรดก ฯลฯ
本文ここから

กิจการครอบครัว: การรับรองบุตร การเลี้ยงดูบุตร การเยี่ยมบุตร มรดก ฯลฯ

更新日:2023年4月11日

โปรดอ่านก่อนใช้บริการ

  • คำถามที่พบบ่อยเป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระบบกฎหมายในญี่ปุ่นและไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามที่เฉพาะเจาะจง
    นอกจากนี้ในกรณีของบางคนแล้ว ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นอาจนำมาใช้ไม่ได้
  • หากคุณต้องการทราบว่ามีคำถามที่พบบ่อยใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่นี่หรือไม่ หรือหากคุณต้องการปรึกษาปัญหาเฉพาะของคุณ โปรดติดต่อบริการข้อมูลหลายภาษา (0570-078377)
    ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยและบริการให้คำปรึกษาตามรายละเอียดคำถามของคุณ
  • โปรดทราบว่า Houterasu ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากการพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลตามคำถามที่พบบ่อย

เนื้อหา

การรับรองบุตร

กิจการครอบครัว ฯลฯ

การเลี้ยงดูบุตร

การเยี่ยมบุตร

มรดก

ถาม01: “การดำเนินการรับรองบุตร” คืออะไร

  • การดำเนินการรับรองบุตรคือขั้นตอนการรับรองตามกฎหมายโดยศาลครอบครัว
    ในกรณีที่บิดาไม่ยินยอมรับรองบุตร (ความเป็นบิดา)

(คำอธิบาย)
・บุตรนอกสมรสและทายาทโดยสายเลือด (ลูกและหลาน) สามารถฟ้องร้องประเด็นการรับรอง
บุตรได้
・หากผู้ถูกฟ้องยังมีชีวิต
ผู้ฟ้องจะต้องยื่นร้องขอประนีประนอมต่อศาลครอบครัวก่อนที่จะยื่นฟ้อง
แม้ว่าคู่กรณีจะบรรลุข้อตกลงในขั้นตอนการประนีประนอมแล้ว ศาลครอบครัวจะยังไม่รับรอง
ประเด็นการรับรองบุตรให้ในทันที จนกว่าศาลจะไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นและเห็นว่าข้อตกลงที่
เกิดขึ้นนั้นเหมาะสม
・หากคู่กรณีไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในขั้นตอนการประนีประนอมได้ จะต้องยื่นฟ้องเพื่อการ
ดำเนินการรับรองบุตรต่อศาลครอบครัว
・การดำเนินการรับรองบุตรสามารถทำได้ตลอดชีวิตของบิดา แต่หากบิดาเสียชีวิตแล้ว จะต้องเร่ง
ดำเนินการรับรองบุตรภายใน 3 ปี
・หากพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบิดาและบุตรแล้ว ศาลจะพิพากษารับรองประเด็น
การรับรองบุตรให้
・ในกรณีที่บุตรยังไม่เกิด มารดาสามารถยื่นร้องขอประนีประนอมต่อบิดาได้ (การไกล่เกลี่ยเพื่อ
การจดทะเบียนรับรองบุตรที่ยังไม่เกิด) อย่างไรก็ตาม กฎหมายตีความว่าหากการประนีประนอมไม่
ประสบผลสำเร็จ มารดาอาจยื่นฟ้องเพื่อรับรองบุตรได้หลังจากที่บุตรคลอด

00139

ถาม02: บุตรที่เกิดจากบิดาชาวญี่ปุ่นและมารดาชาวต่างชาติที่ไม่ได้แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะสามารถขอสัญชาติญี่ปุ่นได้หรือไม่

  • หากบิดายอมรับบุตรในขณะที่มารดากำลังตั้งครรภ์ (ก่อนที่บุตรจะคลอด) บุตรจะได้รับ
    สัญชาติญี่ปุ่นโดยอัตโนมัติในทันทีที่เกิด
  • หากเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย บุตรจะรับสัญชาติญี่ปุ่นได้ผ่านการแจ้ง
  • แม้ว่าการแจ้งขอสัญชาติจะไม่ได้รับการอนุมัติ ก็สามารถยื่นขอเปลี่ยนสัญชาติได้

(คำอธิบาย)
・บุตรที่เกิดระหว่างชายและหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (บุตรนอก
สมรส) จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นตั้งแต่เกิด หากบิดาซึ่งเป็นพลเมืองญี่ปุ่นยอมรับบุตรก่อนเกิด
・บุตรนอกสมรสอาจได้รับสัญชาติญี่ปุ่นเมื่อยื่นหนังสือแจ้งขอสัญชาติได้หากเป็นไปตาม
ข้อกำหนดทางกฎหมายทั้งหมด ดังนี้
(1) มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (*) ในขณะที่แจ้ง
(2) บิดาที่ยอมรับบุตรเป็นพลเมืองญี่ปุ่น ณ เวลาที่เด็กเกิด
(3) บิดาที่ยอมรับบุตรเป็นพลเมืองญี่ปุ่นในขณะที่แจ้ง (หรือเป็นพลเมืองญี่ปุ่น ณ เวลาที่เสียชีวิต กรณีบิดาเสียชีวิตก่อนแจ้ง)
・ การแจ้งรับสัญชาติควรส่งเอกสารไปที่สำนักงานกฎหมายหรือสำนักกฎหมายประจำภูมิภาคที่มี
เขตอำนาจเหนือสถานที่พำนักในกรณีที่ที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น หรือส่งไปยังสถานทูตญี่ปุ่นใน
ต่างประเทศหากที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ
・สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักกฎหมาย สำนักงานกฎหมายประจำภูมิภาค หรือ
ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ทนายความ




(*) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2022 เงื่อนไขในข้อ (1) เปลี่ยนจากอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นอายุต่ำกว่า 18 ปี อย่างไรก็ตาม ยังสามารถยื่นหนังสือแจ้งการขอสัญชาติได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2024 หากเป็นไปตามเงื่อนไขข้อ (2) และ (3) ข้างต้น ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2022 และบุคคลดังกล่าวมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ณ วันที่แจ้ง

03069

ถาม03: ฉันไปมีความสัมพันธ์กับคนที่แต่งงานแล้ว และคู่สมรสของคนที่ฉันมีความสัมพันธ์ชู้สาวด้วยเรียกร้องค่าชดเชย ข้อเรียกร้องนี้จะได้รับอนุมัติหรือไม่

  • ตามกฎทั่วไปแล้วข้อเรียกร้องที่ว่านี้จะได้รับการอนุมัติ
    แต่หากเป็นที่ทราบกันว่าการสมรสของคนที่คุณมีความสัมพันธ์ชู้สาวด้วยนั้นได้หมดสภาพล
    งไปแล้วก่อนที่ความสัมพันธ์ของคุณจะเริ่ม
    หรือหากคุณไม่ทราบมาก่อนทั้งที่ระวังแล้วว่าคนที่คุณมีความสัมพันธ์ชู้สาวด้วยได้แต่งงานแ
    ล้ว ข้อเรียกร้องที่ว่านี้ก็จะถูกปฏิเสธไป

(คำอธิบาย)
・การเป็นชู้กับคนที่แต่งงานแล้วถือเป็นการละเมิดต่อคู่สมรสของคนที่คุณมีความสัมพันธ์ชู้สาวด้วย
จึงถือว่าต้องจ่ายค่าชดเชย
・อย่างไรก็ตาม หากการแต่งงานระหว่างคนที่คุณมีความสัมพันธ์ชู้สาวด้วยกับคู่สมรสปัจจุบันของ
เขาได้พังทลายลงไปแล้วก่อนที่ความสัมพันธ์ทำนองชู้สาวได้เริ่มขึ้น การเรียกร้องค่าชดเชยจะ
ไม่ได้รับการอนุมัติ
・เพราะเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการสิ้นสุดไปแล้วของความสัมพันธ์ของการแต่งงานอัน
ลึกซึ้งซึ่งตามปกติกฎหมายจะต้องคุ้มครอง
・นอกจากนี้ หากระมัดระวังเพียงพอแล้วก็ยังไม่ทราบได้จริง ๆ ว่าอีกฝ่ายแต่งงานแล้ว (เช่น คู่ชู้ที่
แต่งงานอยู่แล้วแต่ก็มาหลอกให้อีกฝ่ายเชื่อว่าตนเป็นโสด) การละเมิดจะไม่ถือว่าเกิดจากการ
ละเมิดสิทธิของการสมรสเพราะว่าไม่ใช่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ดังนั้นการ
เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะถูกปฏิเสธ

00134

ถาม04: ฉันเป็นคนญี่ปุ่น ฉันสามารถรับบุตรบุญธรรมสัญชาติอื่นได้หรือไม่

  • ประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่นไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัญชาติของบุตรบุญธรรม คุณจึงสามารถรับบุตรบุญธรรมสัญชาติอื่นได้
  • อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะสามารถรับบุตรบุญธรรมสัญชาติอื่นในต่างประเทศได้ แต่จะไม่ถือว่าบุตรบุญธรรมนั้นได้รับสถานะการพำนักในญี่ปุ่นโดยอัตโนมัติ

(คำอธิบาย)
・การรับบุตรบุญธรรมอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศบ้านเกิดของครอบครัวอุปถัมภ์ ณ วันที่รับ
บุตรบุญธรรม ดังนั้นเมื่อคนญี่ปุ่นกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ การพิจารณาจะเป็นไปตามประมวลกฎหมาย
แพ่งของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม หากกฎหมายประเทศบ้านเกิดของ “บุตรบุญธรรม” มีข้อกำหนดใน
การคุ้มครองบุตรบุญธรรม (เช่น ความยินยอมของบุคคลหรือบุคคลที่สาม การรับรองจากหน่วยงาน
รัฐ ฯลฯ) ข้อกำหนดดังกล่าวนั้นจะต้องลุล่วงด้วย
・หากต้องมีการพิจารณาโดยศาลเพื่อการรับบุตรบุญธรรม (เช่น เมื่อรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
หรือรับบุตรบุญธรรมพิเศษ) ศาลครอบครัวในญี่ปุ่นสามารถพิจารณาได้ หากครอบครัวอุปถัมภ์หรือ/
และบุตรบุญธรรมอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
・ตามกฎทั่วไป เด็กที่มีสัญชาติอื่นจะได้รับสถานะการพำนักในญี่ปุ่นได้ในกรณีต่อไปนี้
(1) บุตรบุญธรรมพิเศษของคนญี่ปุ่น: สถานะการพำนัก “บุตรหรือคู่สมรสของคนญี่ปุ่น”
(2) บุตรบุญธรรมปกติที่อายุต่ำกว่า 6 ปีซึ่งได้รับเลี้ยงดูจากครอบครัวอุปถัมภ์ชาวญี่ปุ่น:
สถานะการพำนัก “ผู้พำนักระยะยาว”
(3) บุตรบุญธรรมของชาวญี่ปุ่นที่เดินทางกลับมาจากประเทศจีน
(กรณีที่บุตรบุญธรรมได้รับการเลี้ยงดูและอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ตั้งแต่ก่อนอายุ 6 ขวบ):
สถานะการพำนัก “ผู้พำนักระยะยาว”
・บุตรบุญธรรมปกติที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปอาจได้รับสถานะ “ผู้พำนักระยะยาว” ในฐานะบุตรที่มี
สัญชาติอื่นมาก่อนได้ หากเป็นผู้เยาว์ที่ไม่ได้เกิดจากการสมรสและถูกรับเลี้ยงโดยชาวต่างชาติที่
พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นด้วยสถานะการพำนัก “บุตรหรือคู่สมรสของชาวญี่ปุ่น”
・สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษากับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ หากต้องมีการ
ปรึกษากับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ในประเทศที่เกี่ยวข้อง เราขอแนะนำให้ถาม
ทนายความของคุณก่อนว่าจำเป็นหรือไม่

00146

ถาม05: ฉันไม่ได้ทำข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรไว้ตั้งแต่ตอนที่หย่า ฉันยังสามารถรับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรแม้ว่าจะหลังจากหย่าไปแล้วระยะหนึ่งได้หรือไม่ ถ้าได้ ฉันสามารถรับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังได้หรือไม่

  • ตราบที่บุตรยังต้องการการดูแล สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้แม้หลังจากการหย่า
    ร้าง
  • ในบางกรณี ภาระผูกพันในการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังอาจต้องได้รับความยินยอม
    ก่อน
    แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับศาลที่จะพิจารณาว่าภาระผูกพันดังกล่าวจะสามารถเรียกย้อนหลัง
    ได้แค่ไหน หากคู่กรณีไม่สามารถเจรจากันหรือบรรลุข้อตกลงได้ ในทางปฏิบัติ ค่าเลี้ยงดู
    บุตรมักจะจำกัดที่ระยะเวลาภายหลังการเรียกร้อง

(คำอธิบาย)
・ภาระผูกพันในการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรเอง ไม่
ว่าบิดามารดาจะมีอำนาจผู้ปกครองหรืออาศัยอยู่กับบุตรหรือไม่ก็ตาม แม้กระทั่งหลังจากการหย่า
ตราบใดที่บุตรยังต้องการความดูแล บิดามารดาก็มีหน้าที่ต้องช่วยกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ
เลี้ยงดูบุตร
・หากการหย่าของผู้ปกครองเกิดขึ้นโดยยังไม่มีข้อตกลงในการเลี้ยงดูบุตร จำนวนเงิน ระยะเวลา
และวิธีการจ่ายจะถูกนำมาพิจารณาโดยการปรึกษาหารือกันระหว่างบิดามารดา โดยที่การหารือ
จะต้องให้ความสำคัญสูงสุดกับผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก
・หากบิดามารดาไม่สามารถเจรจาหรือบรรลุข้อตกลงได้ พวกเขาจะขอดำเนินการประนีประนอม
หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูบุตรได้ที่ศาลครอบครัว หากมีการเรียกร้องเงินค่าเลี้ยงดูบุตร
ย้อนหลัง ศาลครอบครัวจะพิจารณาค่าเลี้ยงดูบุตร และรวมถึงจำนวนเงินย้อนหลังที่ควรจะจ่าย
・หากได้ทราบระยะเวลาและจำนวนเงินค่าเลี้ยงดูบุตรที่แน่นอนแล้ว สิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
บุตรจะสิ้นสุดลงตามอายุความหลังจากผ่านไป 5 ปีนับจากวันที่ชำระเงิน อย่างไรก็ตามการจ่ายเงิน
ค่าเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงใด ๆ จะไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับนี้
・สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนายความ

00106

ถาม06: เราได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรไว้ แต่ยังไม่ได้รับเงิน ในทางกฎหมาย ฉันจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

  • ในกรณีที่บรรลุข้อตกลงผ่านการประนีประนอมหรือการพิจารณาคดี จะมีคำแนะนำใน
    การปฏิบัติตามคำสั่ง คำสั่งให้ปฏิบัติตาม และการบังคับคดีไว้รองรับ
  • หากบรรลุข้อตกลงผ่านเอกสารรับรองพร้อมข้อความแสดงการรับรู้ถึงการบังคับคดีแล้ว
    จะมีการบังคับคดีไว้รองรับ

(คำอธิบาย)
・การจ่ายเงินที่เกิดจากข้อตกลงทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่ทำขึ้นระหว่างคู่กรณีกันเอง ไม่
สามารถนำมาบังคับใช้ทางกฎหมายได้ ในกรณีนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวเพื่อ
ประนีประนอมขอรับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้
・หากมีการประนีประนอมหรือคำพิพากษาที่ศาลครอบครัวแล้ว มี 2 วิธีที่จะรับประกันการจ่ายเงิน
ค่าเลี้ยงดูบุตรตามข้อตกลงได้คือ คำแนะนำในการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำสั่งให้ปฏิบัติตาม และ
การยื่นขอการบังคับคดีต่อศาลแขวง หากเอกสารรับรองพร้อมข้อความแสดงการรับรู้ถึงการบังคับ
คดีถูกทำขึ้นที่สำนักงานรับรองเอกสารสาธารณะ จะใช้ได้เฉพาะการบังคับคดีเท่านั้น
・โปรดติดต่อศาลครอบครัวที่จัดการประนีประนอมหรือออกคำพิพากษาสำหรับขั้นตอนเกี่ยวกับ
คำแนะนำในการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำสั่งให้ปฏิบัติตาม สำหรับขั้นตอนในการบังคับคดี โปรด
ติดต่อศาลแขวงที่มีอำนาจในเขตที่พำนักของคู่กรณี (สำหรับการบังคับคดีอสังหาริมทรัพย์ โปรด
ติดต่อศาลแขวงที่มีอำนาจในเขตที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น)
・เราขอแนะนำให้ปรึกษากับทนายความถึงเรื่องวิธีการ ช่วงเวลา และการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับคดีของคุณโดยเฉพาะ

00107

ถาม07: จะขอให้ลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

  • หากมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถานการณ์ส่วนตัวหรือด้านสังคมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ใ
    นขณะกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตรและค่าเลี้ยงดูบุตรในปัจจุบันไม่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบันอี
    กต่อไป ก็สามารถร้องขอให้ลดค่าเลี้ยงดูบุตรลงได้

(คำอธิบาย)
・จะพิจารณาจำนวนเงินหรือวิธีการเลี้ยงดูโดยอาศัยความจำเป็นที่ต้องมีผู้ใหญ่เลี้ยงดู วิธีหารายรับ
ของผู้รับผิดชอบเลี้ยงดู และปัจจัยอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย
・เมื่อมีการตกลงหรืออนุมัติการเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษา ศาลครอบครัวอาจแก้ไขหรือเพิกถอน
ค่าเลี้ยงดูบุตรได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจากเหตุอันไม่คาดคิด เช่น การเปลี่ยนแปลงทาง
การเงินของผู้ปกครองหรือค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น
・หากการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์นั้นเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ ณ เวลาที่กำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
กรณีนี้จะไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ที่ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงดูบุตร
・การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ณ เวลาที่กำหนดค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น
รวมถึงการว่างงานเนื่องจากการล้มละลายของบริษัทที่ผู้ปกครองทำงาน การเข้ารับรักษาใน
โรงพยาบาลระยะยาวเนื่องจากอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของผู้ปกครอง หรือค่าครองชีพของ
ครอบครัวที่เพิ่มขึ้นหลังจากพ่อแม่แต่งงานใหม่
・หากมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่อธิบายไว้ข้างต้น ผู้ปกครองอาจขอให้ลดค่าเลี้ยงดูบุตร
ด้วยวิธีตกลงร่วมกัน ประนีประนอม หรือคำพิพากษาด้วยเหตุผลว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็น
การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนค่าเลี้ยงดูบุตร
・หากผู้อื่นรับบุตรเป็นบุตรบุญธรรมไปแล้ว พ่อแม่บุญธรรมจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรเป็น
สำคัญ และอาจได้รับการลดหย่อนได้
・สำหรับรายละเอียด โปรดปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญ

00104

ถาม08: หากฉันอยากไปเยี่ยมลูก จะต้องทำอย่างไรบ้าง

  • หลังจากการหย่าหรือในขณะที่พ่อแม่แยกกันอยู่
    เรื่องที่เกี่ยวกับการเยี่ยมบุตรจะต้องตัดสินโดยให้ผู้ปกครองร่วมกันปรึกษา
    หากการพูดคุยไม่สัมฤทธิ์ผล
    หรือหากผู้ปกครองไม่ได้รับอนุญาตให้มาเยี่ยมตามที่สัญญาไว้
    ก็ให้ใช้กระบวนการประนีประนอมของศาลครอบครัวได้

(คำอธิบาย)
・ การเยี่ยมบุตรไม่ควรตัดสินจากมุมมองด้านสิทธิของผู้ปกครอง แต่ควรมองจากมุมมองด้านสวัสดิ
ภาพของบุตรแทน โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์สูงสุดของเด็กก่อนสิ่งอื่นใด เพื่อจะไม่สร้าง
ภาระให้แก่บุตร
・ควรกำหนดวิธีเยี่ยมให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในแง่ของความถี่ เวลา และสถานที่
・หากการพูดคุยไม่สัมฤทธิ์ผล หรือหากผู้ปกครองไม่ได้รับอนุญาตให้มาเยี่ยมตามที่สัญญาไว้
สามารถยื่นคำร้องขอดำเนินกระบวนการประนีประนอมของศาลครอบครัวได้ หากการประนีประนอม
ไม่สัมฤทธิ์ผล จะใช้วิธีพิพากษาในทันที โดยที่ผู้พิพากษาจะกำหนดวิธีเยี่ยม (“การจัดการเกี่ยวกับ
การเป็นผู้ปกครองบุตร”) โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั้งหมดร่วมกัน
・สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนายความ




* เมื่อการแต่งงานกับชาวต่างชาติสิ้นสุดลง
และผู้ปกครองฝ่ายหนึ่งพาเด็กไปยังประเทศบ้านเกิดของตนโดยปราศจากความยินยอมจากอีกฝ่า
ย การทำเช่นนี้อาจส่งผลเสียขั้นร้ายแรงต่อเด็ก
เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับวิถีชีวิตก่อนหน้านี้ของเด็กอย่างกะทันหันเกินไป
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานี้
โปรดอ่านหัวข้อคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก (Convention on the Civil
Aspects of International Child Abduction)

00116

ถาม09: อดีตคู่สมรสฉันไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร ฉันจะต้องยอมให้อดีตคู่สมรสมาเยี่ยมลูกหรือไม่ ทั้งที่เขาไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร

  • เงินค่าเลี้ยงดูบุตรและการเยี่ยมบุตรไม่ใช่การดำเนินการประเภทยื่นข้อเสนอต่างตอบแทน ดังนั้นแล้วการปฏิเสธไม่ให้เยี่ยมเพราะเหตุผลไม่ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรบุตร
    หรือปฏิเสธที่จะจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรเนื่องจากไม่ได้รับสิทธิเยี่ยมบุตรล้วนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้
    งคู่
  • อย่างไรก็ตาม หากไม่ชำระเงินค่าเลี้ยงดูบุตรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อาจโดนห้ามเยี่ยมบุตรได้

(คำอธิบาย)
・ทั้งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรและการเยี่ยมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเลี้ยงดูบุตรที่ดี ทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่การ
ดำเนินการประเภทยื่นข้อเสนอต่างตอบแทน นั่นคือข้อกำหนดของฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นเงื่อนไขของ
ข้อกำหนดของอีกฝ่ายหนึ่ง
・ดังนั้นแล้วการปฏิเสธไม่ให้เยี่ยมบุตรเพราะเหตุผลไม่ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรหรือปฏิเสธที่จะจ่ายค่า
เลี้ยงดูบุตรเนื่องจากไม่ได้รับสิทธิเยี่ยมบุตรล้วนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งคู่
・อย่างไรก็ตาม มักมีความเห็นว่าควรจำกัดการเยี่ยมในกรณีที่ไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรโดยไม่มี
เหตุผลอันสมควร เช่น
เมื่อไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรทั้งที่จริงแล้วบิดามารดาคนนั้นสามารถหาเงิน
มาจ่ายได้ เป็นต้น แต่บางครั้งก็มองได้ว่าการร้องขอการมาเยี่ยมบุตรเป็นการละเมิดสิทธิ เพราะ
ผู้ปกครองรายดังกล่าวไม่ยอมทำหน้าที่สำคัญของบิดามารดาในการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร
・โปรดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากทนายความ

04677

ถาม10: ทายาทโดยธรรมคืออะไร

  • ทายาทที่ถูกกำหนดโดยประมวลกฎหมายแพ่งว่าสามารถเป็นทายาทได้นั้น ให้เรียกว่า
    ทายาทโดยธรรม

(คำอธิบาย)
・ทายาทโดยธรรมมี 2 ประเภท คือ คู่สมรสและญาติทางสายเลือด
・คู่สมรสถือเป็นทายาทเสมอ
・ญาติทางสายเลือดจะถูกจัดลำดับตามความสำคัญและญาติทางสายเลือดลำดับแรกจะถือเป็น
ทายาท
・ญาติทางสายเลือดลำดับแรกคือบุตรของผู้เสียชีวิต หากบุตรเสียชีวิต ทายาทที่มาแทนจะเป็น
ทายาทตามสาย (ลูก หลาน เหลน ฯลฯ) ของพวกเขา
・ญาติทางสายเลือดลำดับที่สองคือบุพการี (บิดามารดา ฯลฯ ของผู้เสียชีวิต)
・ญาติทางสายเลือดลำดับที่สามคือพี่น้องของผู้เสียชีวิต หากพี่น้องเสียชีวิต ทายาทของพี่น้อง
ที่มาแทนจะถือเป็นทายาท (จำกัดเฉพาะบุตร ไม่รวมหลาน เหลน ฯลฯ)

00219

ถาม11: ขั้นตอนการแบ่งมรดกมีอะไรบ้าง

  • มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม
  2. การแบ่งมรดกตามสัญญาร่วมกันระหว่างทายาท
  3. การแบ่งมรดกโดยการประนีประนอมที่ศาลครอบครัว
  4. การแบ่งมรดกตามคำพิพากษาของศาลครอบครัว

(คำอธิบาย)
・การแบ่งมรดกเป็นกระบวนการแบ่งมรดกร่วมกันระหว่างทายาท
・เนื่องจากขอบเขตของมรดกและทายาทจะถูกกำหนดหลังจากการเริ่มสืบทอดมรดกเท่านั้น วิธี
เดียวที่การสืบทอดมรดกจะมีผลบังคับใช้ได้ก็คือการทำข้อตกลงกันของทายาทหลังจากเริ่มสืบ
ทอดมรดก ดังนั้นข้อตกลงในการแบ่งมรดกก่อนเริ่มการสืบทอดมรดก
(ระหว่างที่ผู้เสียชีวิตยังมีชีวิต
อยู่) จะถือเป็นโมฆะ
・หากทายาทร่วมไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการแบ่งมรดก หรือหากไม่สามารถเจรจากันได้
ทายาทแต่ละคนอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลครอบครัวเพื่อประนีประนอมหรือขอคำพิพากษา
・การประนีประนอมคือขั้นตอนในการกำหนดวิธีการแบ่งมรดก โดยต้องมีการหารือกับ
คณะกรรมการไกล่เกลี่ยความสัมพันธ์ในครอบครัว
・คำพิพากษาเป็นขั้นตอนที่ศาลเข้ามามีส่วนตัดสินวิธีการแบ่งมรดก
・แม้ว่าการยื่นคำร้องสำหรับการพิจารณาคดีตั้งแต่เริ่มต้นจะสามารถกระทำได้ แต่การจะยื่นคำร้อง
เพื่อประนีประนอมก่อนมีคำพิพากษาถือเป็นเรื่องปกติ
・คำร้องขอการประนีประนอมจะยื่นต่อศาลครอบครัวตามที่อยู่ของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (หนึ่งใน
ทายาทร่วม) หรือต่อศาลครอบครัวที่คู่กรณีตกลงกันไว้ก็ได้
・คำร้องขอคำพิพากษาจะยื่นต่อศาลครอบครัวที่มีอำนาจในเขตที่การสืบทอดมรดกเริ่มต้น (ที่อยู่
สุดท้ายของผู้เสียชีวิต) หรือต่อศาลครอบครัวที่คู่กรณีตกลงกันไว้ก็ได้

00264

ถาม12: ฉันพบพินัยกรรมของสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว ฉันควรทำอย่างไรในขั้นตอนการสืบทอดมรดก

  • คุณจะต้องยื่นคำร้องขอพิสูจน์พินัยกรรมต่อศาลครอบครัว
  • การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาในพินัยกรรม

(คำอธิบาย)
・เมื่อผู้ดูแลพินัยกรรมรับรู้ถึงการเริ่มต้นสืบทอดมรดกหรือเมื่อทายาทค้นพบพินัยกรรม พวกเขา
จะต้องนำส่งพินัยกรรมนั้นต่อศาลครอบครัวในทันทีและขอพิสูจน์พินัยกรรม ยกเว้นพินัยกรรมที่มี
การรับรองไว้แล้ว
・โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พินัยกรรมไม่สามารถใช้ในการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ได้ เว้นแต่จะ
ได้รับการพิสูจน์โดยศาลครอบครัวแล้ว ยกเว้นพินัยกรรมที่มีการรับรอง
・พินัยกรรมที่ถูกเก็บไว้ที่สำนักกฎหมายหลังจากวันที่พระราชบัญญัติการจัดเก็บพินัยกรรมใน
สำนักกิจการกฎหมายมีผลบังคับใช้ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดเก็บพินัยกรรม) (10 กรกฎาคม
พ.ศ. 2020) ไม่จำเป็นต้องนำมาพิสูจน์
・กระบวนการพิสูจน์จะตรวจสอบเฉพาะพินัยกรรมและไม่ได้บ่งบอกถึงความถูกต้อง เช่น ความเป็น
จริงของเนื้อหาแต่อย่างใด ดังนั้นข้อพิพาทเกี่ยวกับความถูกต้องหรือความไม่ถูกต้องของพินัยกรรม
จะถูกนำไปตัดสินในชั้นศาล
・การปฏิบัติตามข้อกำหนดของพินัยกรรม เช่น การทำพินัยกรรมยกมรดกให้ การถอดถอนทายาท
ที่สันนิษฐานไว้ และการรับรองบุตร จำเป็นต้องมีการดำเนินการโดยผู้จัดการมรดก หากพินัยกรรม
ไม่ได้มีผู้จัดการมรดก จะมีการยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น 1 คน

00289

ถาม13: ขั้นตอนการสละมรดกมีอะไรบ้าง

  • การสละมรดกเป็นการแสดงเจตจำนงของทายาทที่จะปฏิเสธการรับ
    สิทธิและหน้าที่ของผู้เสียชีวิตและเป็นขั้นตอนในศาลครอบครัว

(คำอธิบาย)
・การสละมรดกทำได้โดยการยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังศาลครอบครัวที่มีอำนาจในเขต
ที่อยู่ล่าสุดของผู้เสียชีวิตภายในเวลา 3 เดือนหลังจากทราบการเริ่มต้นสืบทอดมรดกและมีการยอม
รับคำร้อง อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้รับการตีความว่าการยอมรับอย่างเป็นทางการไม่ได้ยืนยัน
ความถูกต้องในการสละสิทธิ์ และหากมีเหตุทางกฎหมายให้การยอมรับนั้นเป็นโมฆะ ความถูกต้อง
ในการสละสิทธิ์นั้นอาจถูกคัดค้านในคดีความได้ในภายหลัง
・หากไม่สามารถตัดสินใจได้ภายในเวลา 3 เดือน สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาล
ครอบครัวได้
・หากเจ้าหนี้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหลังจากการสืบทอดมรดกได้เริ่มขึ้นไประยะหนึ่งแล้วและ
เพิ่งรับรู้ถึงหนี้ของผู้เสียชีวิตเป็นครั้งแรก การสละมรดกอาจทำได้แม้ว่าจะผ่านไป 3 เดือนนับตั้งแต่
การสืบทอดมรดกเริ่มขึ้นแล้ว
・หากผู้มีสิทธิรับมรดกได้สละมรดกแล้ว จะถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นทายาทตั้งแต่แรก ทายาทโดย
สายเลือด (ลูก หลาน ฯลฯ) ของผู้สละมรดกจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกแทน
・เมื่อมีการสละมรดก บุคคลถัดไปตามลำดับกฎหมายของการสืบทอดมรดกจะเป็นทายาท
ตัวอย่างเช่น หากบุตรของผู้เสียชีวิตทั้งหมดสละมรดกในสิทธิของตน บุพการีตามสายเลือด (บิดา
มารดา ฯลฯ) จะตกเป็นทายาท นอกจากนี้หากบุพการีตามสายเลือดทั้งหมดสละมรดก พี่น้องของ
ผู้เสียชีวิตก็จะตกเป็นทายาท นอกจากนี้คู่สมรสของผู้เสียชีวิตยังถือเป็นทายาทเสมอ
・หากมรดกไม่สามารถชำระหนี้สินได้เพียงพอ บุคคลดังกล่าวนี้ทั้งหมดจะต้องสละมรดกเพื่อ
หลีกเลี่ยงหนี้

00210

ถาม14: การสละมรดกควรทำเมื่อไหร่

  • การสละมรดกควรดำเนินการภายใน 3
    เดือนนับตั้งแต่ที่คุณได้ทราบว่าการสืบทอดมรดกได้เริ่มขึ้นในนามของคุณ ซึ่งเรียกว่า
    “ระยะเวลาพิจารณา”

(คำอธิบาย)
・“ช่วงเวลาที่คุณทราบว่าการสืบทอดมรดกได้เริ่มต้นในนามของคุณ” คือเวลาที่คุณได้รับรู้ถึงการ
ตายของผู้เสียชีวิต (บุคคลที่เสียชีวิต) อย่างไรก็ตามในกรณีของบุคคลที่ตกเป็นทายาทเนื่องจาก
การสละมรดกโดยผู้ที่มีลำดับสูงกว่า (เช่น บิดามารดาของผู้เสียชีวิตกลายเป็นทายาทเพราะบุตร
ของผู้เสียชีวิตสละมรดก) นี่เป็นเวลาที่คุณรับรู้ถึงการสละมรดกโดยบุคคลที่มีลำดับสูงกว่า
・ในระยะเวลาพิจารณา ควรส่งคำร้องขอสละมรดกเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังศาลครอบครัวที่มี
อำนาจในเขตที่อยู่ล่าสุดของผู้เสียชีวิต เมื่อศาลครอบครัวยอมรับคำร้องขอ จึงจะสละมรดกได้
・หากมีทายาทมากกว่า 1 คน จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณา 3 เดือนแยกกันไปสำหรับทายาท
แต่ละคน
・นอกจากตัวทายาทเอง การพิจารณา 3 เดือนนี้อาจขยายออกไปได้ตามคำร้องขอของผู้มีส่วนได้
เสียท่านอื่น ๆ (เช่น เจ้าหนี้ของทายาท ทายาทในลำดับถัดไป เจ้าหนี้และลูกหนี้ของผู้เสียชีวิต)
・แม้ว่าเวลาจะผ่านไป 3 เดือนแล้วนับจาก “เวลาที่คุณรับรู้แล้วว่าการสืบทอดมรดกได้เริ่มต้นใน
นามของคุณ” คุณยังคงสามารถยื่นคำร้องขอสละมรดกได้ในกรณีพิเศษ
・หากมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่มีเหตุอันควรให้เชื่อได้ว่าไม่มีมรดก รวมทั้งหนี้สินใด ๆ ก็ให้นับ
ระยะเวลาพิจารณา 3 เดือนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ทายาทได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของมรดกทั้งหมดหรือ
บางส่วน หรือนับระยะเวลาตั้งแต่ที่ทายาทจะรับรู้ถึงมรดกนั้นตามปกติทั่วไป

00212

ถาม15: เมื่อชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหลายปีเสียชีวิตลง แล้วทิ้งทรัพย์สินไว้ในญี่ปุ่น ฉันจะดำเนินการตามกระบวนการสืบทอดมดรกได้อย่างไรบ้าง

  • หากผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นในขณะที่เสียชีวิต การดำเนินการต่าง ๆ สามารถทำได้ที่ศาลญี่ปุ่น (ศาลครอบครัว)
  • ตามกฎทั่วไป การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศบ้านเกิดของผู้เสียชีวิต แต่ก็มีบางกรณีที่การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับกฎหมายญี่ปุ่น (ประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น)

(คำอธิบาย)
・อาจเกิดปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างประเทศ เช่น
ต้องใช้ศาลของประเทศใดในการพิจารณาคดี และปัญหาเรื่องกฎหมายที่ใช้บังคับ เช่น
ต้องใช้กฎหมายของประเทศใดในการตัดสิน




<<เขตอำนาจศาลระหว่างประเทศ>>
・หากผู้เสียชีวิตอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นในขณะที่เสียชีวิต ศาลญี่ปุ่น (ศาลครอบครัว) จะมีอำนาจในการ
พิจารณาการสละมรดก
・หากผู้เสียชีวิตอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นในขณะที่เสียชีวิต หรือหากทายาทตกลงที่จะแบ่งมรดกในศาล
ญี่ปุ่น ศาลญี่ปุ่น (ศาลครอบครัว) จะมีอำนาจในการพิจารณาการแบ่งมรดก
・ทว่า กรณีที่มีอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วย จะเกิดคำถามว่า มรดกที่เกิดจากการ
ประนีประนอมหรือคำพิพากษาให้แบ่งมรดกที่พิจารณาในประเทศญี่ปุ่นจะสามารถนำไปใช้บังคับใน
ต่างประเทศได้หรือไม่ ในส่วนนี้จำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนว่าสมควร
ดำเนินการแบ่งมรดกในศาลญี่ปุ่น (ศาลครอบครัว) หรือไม่




<<กฎหมายที่ใช้บังคับ>>
・ตามกฎหมายระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเอง (พระราชบัญญัติกฎทั่วไปสำหรับการบังคับใช้
กฎหมาย) คดีที่เกี่ยวกับมรดกจะถูกควบคุมโดยกฎหมายของประเทศบ้านเกิดของผู้เสียชีวิต ดังนั้น
กฎหมายของประเทศบ้านเกิดของผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวต่างชาติจึงเป็นกฎหมายที่จะต้องนำมาบังคับ
ใช้ เช่น หากผู้เสียชีวิตชาวต่างชาติเป็นคนเกาหลี ตามกฎทั่วไป กฎหมายเกาหลี (ประมวล
กฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐเกาหลี) จะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ
・ในบางกรณี หากกฎหมายระหว่างประเทศของประเทศบ้านเกิดของผู้เสียชีวิตเองอาจมี
บทบัญญัติที่แตกต่างออกไป กฎหมายญี่ปุ่น (ประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น) จะถูกนำมาที่ใช้
บังคับแทน เช่น ในกฎหมายระหว่างประเทศของจีน (พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายในความสัมพันธ์พลเรือนกับชาวต่างชาติ) “กฎหมายว่าด้วยที่ตั้งของ
อสังหาริมทรัพย์จะนำมาใช้กับมรดกอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย” ดังนั้นหากชาวต่างชาติที่ถือ
สัญชาติจีนเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายญี่ปุ่น (กฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น) จะเป็น
กฎหมายที่ถูกนำมาบังคับใช้กับมรดกอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
・จากที่ระบุข้างต้น ปัญหามรดกที่มีองค์ประกอบระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน โปรดปรึกษา
กับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องปรึกษากับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญ
ท่านอื่น ๆ ในประเทศที่เกี่ยวข้อง เราขอแนะนำให้ถามทนายความของคุณก่อนว่าจำเป็นหรือไม่

03076

ถาม16: ฉันเป็นชาวต่างชาติ แต่เมื่อปีก่อนฉันได้แต่งงานกับสามีชาวญี่ปุ่นและเราอาศัยอยู่ด้วยกัน ฉันเริ่มคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่เมื่อวันก่อนสามีของฉันเกิดเสียชีวิตลงกะทันหัน สถานะการพำนักปัจจุบันของฉันคือ “บุตรหรือคู่สมรสของชาวญี่ปุ่น” ฉันยังสามารถอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อไปได้หรือไม่

  • เมื่อบุคคลที่อาศัยอยู่กับคุณหรือญาติเสียชีวิตลง คุณต้องส่งหนังสือแจ้งการเสียชีวิตต่อเทศบาลภายใน 7 วันนับจากวันที่เสียชีวิต
  • นอกจากนี้ หากคู่สมรสชาวญี่ปุ่นของคุณเสียชีวิต จะไม่ถือว่าคุณเป็น “คู่สมรสหรือบุตรของคนสัญชาติญี่ปุ่น” อีกต่อไป คุณจะต้องแจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำภูมิภาคภายใน 14 วัน
  • หากคุณต้องการอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป คุณจะต้องเปลี่ยนสถานะการพำนักของคุณ
    เป็นสถานะอื่นที่คุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดภายใน 6 เดือนหลังจากการเสียชีวิต
    ของคู่สมรสของคุณ

(คำอธิบาย)
・หากคู่สมรสที่เป็นชาวญี่ปุ่นของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีสถานะเป็น “บุตร
หรือคู่สมรสของชาวญี่ปุ่น” เสียชีวิตลง ชาวต่างชาติผู้นั้นจะต้องแจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรมให้รับทราบภายใน 14 วันนับจากวันที่คู่สมรสเสียชีวิต ไม่ว่าจะแจ้งต่อสำนักงานตรวจคน
เข้าเมืองประจำภูมิภาคหรือส่งหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำภูมิภาคโตเกียว
หากไม่ปฏิบัติตามดังที่กล่าว อาจส่งผลให้คุณเสียสถานะการพำนักได้ ดังนั้นโปรดระมัดระวัง
・หากต้องการอยู่ในญี่ปุ่นต่อ คุณต้องขอเปลี่ยนสถานะการพำนักภายใน 6 เดือน
・หากคุณอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน (เช่น แต่งงานมานานเกิน 3 ปี) และมีรากฐานที่มั่นคง
ในการดำรงชีวิต คุณอาจเปลี่ยนสถานะการพำนักเป็น “ผู้พำนักระยะยาว” ได้ ทว่าหากคุณอาศัยอยู่
ในญี่ปุ่นน้อยกว่าสามปี การจะเปลี่ยนสถานะการพำนักและใช้ชีวิตในญี่ปุ่นต่อไปอาจเป็นไปได้ยาก
・อย่างไรก็ตาม หากคุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด เช่น มีลูกกับสามีที่เสียชีวิตและต้องการ
เลี้ยงดูบุตร คุณจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนสถานะการพำนักเป็น “ผู้พำนักระยะยาว” ได้
・หากมีสถานการณ์อื่น ๆ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โปรดปรึกษากับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

03803

サブナビゲーションここから

Legal Information for Foreign Nationals(外国人のみなさまへ)


以下フッタです
ページの先頭へ