Site Search
อุบัติเหตุและการชดใช้ค่าเสียหาย
โปรดอ่านก่อนใช้บริการ
- คำถามที่พบบ่อยเป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระบบกฎหมายในญี่ปุ่นและไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามที่เฉพาะเจาะจง
นอกจากนี้ในกรณีของบางคนแล้ว ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นอาจนำมาใช้ไม่ได้ - หากคุณต้องการทราบว่ามีคำถามที่พบบ่อยใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่นี่หรือไม่ หรือหากคุณต้องการปรึกษาปัญหาเฉพาะของคุณ โปรดติดต่อบริการข้อมูลหลายภาษา (0570-078377)
ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยและบริการให้คำปรึกษาตามรายละเอียดคำถามของคุณ - โปรดทราบว่า Houterasu ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากการพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลตามคำถามที่พบบ่อย
เนื้อหา
- 01 ฉันได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ฉันสามารถเรียกร้องการชดเชยค่าเสียหายประเภทใดได้บ้าง
- 02 หากประสงค์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิด ฉันจะต้องทำอย่างไร
- 03 การละเมิดคืออะไร
- 04 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจะสิ้นอายุความภายในเวลากี่ปี
- 05 ฉันเป็นชาวต่างชาติ ต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรในญี่ปุ่น นอกจากนี้ หากเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ต้องทำอย่างไร
- 06 ฉันจะไม่สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าปลอบขวัญจากฝ่ายผู้กระทำผิดในอุบัติเหตุทางจราจรใช่หรือไม่ หากฉันไม่ได้แจ้งความกับตำรวจ
ถาม01: ฉันได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ฉันสามารถเรียกร้องการชดเชยค่าเสียหายประเภทใดได้บ้าง
หากคุณได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร คุณสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ได้
(1) ค่ารักษาพยาบาล
(2) ค่าผู้ป่วยใน
(3) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในการรักษาตัวแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาล
(4) ค่านางพยาบาลผู้ดูแล
(5) ค่าเดินทางไปยังโรงพยาบาล
(6) การเสียรายได้เนื่องจากขาดงาน
(7) ค่าชดเชยความทรมานทางจิตใจในระหว่างรักษาตัว
(8) กรณีความสามารถในการทำงานลดลงเนื่องจากทุพพลภาพที่หลงเหลืออยู่ จะได้รับค่าสูญเสียรายได้ที่จะได้รับในอนาคต
(9) ค่าชดเชยความทรมานทางจิตใจที่เกิดจากความทุพพลภาพที่หลงเหลืออยู่
(10) ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอาการทุพพลภาพที่หลงเหลืออยู่
(11) ค่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้เนื่องจากทุพพลภาพที่หลงเหลืออยู่ (รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ ในอนาคตอีกด้วย)
(12) ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงบ้านหรือรถยนต์เนื่องจากทุพพลภาพที่หลงเหลืออยู่
(13) ค่าทนายความ
(คำอธิบาย)
สูตรที่ใช้คำนวณค่าเสียหายนั้นมีความซับซ้อน สำหรับรายละเอียด โปรดปรึกษาทนายหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ
01352
ถาม02: หากประสงค์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิด ฉันจะต้องทำอย่างไร
ในระบบคดีแพ่ง คุณจะเรียกร้องเงินจากผู้กระทำความผิดได้โดยการเรียกร้องและพิสูจน์คดีของคุณเอง
(คำอธิบาย)
- ในคดีแพ่ง ศาลจะต้องรับรู้การกระทำที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บและความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อ
จะได้สั่งให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ หากมีคำพิพากษาสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย ก็จะสามารถ
ใช้คำพิพากษานี้เป็นมูลฐานในการบังคับคดีกับทรัพย์สินผู้กระทำผิดได้ - ในคดีแพ่ง ผู้เสียหายจำเป็นต้องพิสูจน์การละเมิดที่กระทำโดยผู้กระทำความผิดรวมทั้งความ
เสียหายที่ได้เกิดขึ้น การรวบรวมหลักฐาน การจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่จะนำเสนอ และการวาง
โครงสร้างคดีให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย จะต้องใช้ดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ มา
รวมกัน
01616
ถาม03: การละเมิดคืออะไร
การละเมิดคือการละเมิดสิทธิ์หรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของบุคคลอื่น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะทั้งโดยเจตนา (โดยตั้งใจไว้แล้ว) หรือโดยไม่ได้เจตนา (ประมาทเลินเล่อ) ก็ตาม
(คำอธิบาย)
- การชดเชยความเสียหายอันเกิดจากการละเมิด บุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (ผู้กระทำ
ความผิด) จะต้องจ่ายให้กับบุคคลที่ได้รับความเสียหาย (ผู้เสียหาย) โดยที่ขอบเขตของความ
เสียหายดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงความเสียหายทางวัตถุเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหาย
ทางจิตใจอีกด้วย (ความเป็นส่วนตัว ชื่อเสียง ความไว้วางใจ ฯลฯ) - เพื่อบังคับให้เกิดการรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการละเมิด บุคคลจะต้องมี
ความสามารถในการเข้าใจว่าการกระทำของตนเองนั้นถือเป็นสิ่งที่ผิดในทางกฎหมาย
(ความสามารถในการรับผิดชอบ) ดังนั้นหากบุคคลนั้นไม่สามารถรับรู้ความรับผิดชอบเนื่องจากยัง
เป็นเด็กหรือมีความพิการทางจิต โดยหลักการแล้วผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลบุคคลนั้นต้องรับผิดต่อ
ค่าเสียหายแทน - บุคคลที่แสวงหากำไรจากการว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำงานจะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากบุคคล
ที่ตนว่าจ้างด้วย (ความรับผิดชอบของนายจ้าง) โดยหลักการแล้วหากนายจ้างดูแลลูกจ้างที่ตนจ้าง
ดีพอ ก็จะไม่ต้องรับผิดชอบภายใต้ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างแต่อย่างใด แต่ในทางปฏิบัติก็
มักพบว่านายจ้างคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ - หากเป็นการละเมิดที่เป็นข้อหาหมิ่นประมาท นอกจากการชดใช้ค่าเสียหายแล้ว ผู้เสียหายยัง
สามารถสั่งให้ผู้กระทำผิดเผยแพร่คำขอโทษอีกด้วย - โดยหลักการแล้วสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดจะสิ้นสุดลงตามอายุความเมื่อเวลาได้
ล่วงเลยไป 3 ปีไปแล้ว โดยนับจากเวลาที่ผู้เสียหายหรือตัวแทนทางกฎหมายทราบถึงความ
เสียหายและตัวผู้กระทำความผิด - อย่างไรก็ตามอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ชีวิตของบุคคลหรือความกินดีอยู่ดีทางกายคือ 5 ปีนับจากเวลาที่ผู้เสียหายหรือตัวแทนทาง
กฎหมายทราบถึงความเสียหายและตัวผู้กระทำความผิด - หากผู้เสียหายหรือตัวแทนทางกฎหมายไม่ทราบถึงความเสียหายหรือตัวผู้กระทำความผิด
ผู้เสียหายก็จะไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายนั้นจากตัวผู้กระทำความผิดได้หลังผ่าน
เวลาที่เกิดการละเมิดไปแล้ว 20 ปี
[ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (กฎหมายภาระผูกพัน)]
- คำอธิบายข้างต้นมาจากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลบังคับ
ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2020 - โปรดทราบว่าข้อกำหนดก่อนหน้าฉบับแก้ไขปรับปรุงอาจมีผลบังคับใช้ในกรณีที่มีการละเมิดก่อน
วันที่บังคับใช้
02518
ถาม04: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจะสิ้นอายุความภายในเวลากี่ปี
การสิ้นอายุความจะแปรผันตามลักษณะความเสียหายและสาเหตุของความเสียหายนั้น ๆ
(คำอธิบาย)
- สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา (การละเมิดภาระผูกพันตาม
สัญญา ฯลฯ) จะสิ้นสุดอายุความหลังจาก 5 ปี โดยนับจากเวลาที่เจ้าหนี้ทราบว่า สามารถใช้สิทธิ
ได้หรือ หลังจาก 10 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิได้ - สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด (อุบัติเหตุจราจร ฯลฯ) สิ้นสุดลงตามอายุความภายใน 3
ปีนับจากเวลาที่ผู้เสียหายหรือตัวแทนทางกฎหมาย (บุคคลที่มีอำนาจปกครองของผู้ปกครอง ผู้
พิทักษ์ ฯลฯ) รับทราบถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้กระทำผิด หรือภายใน 20 ปีนับจากเวลาที่เกิด
การกระทำความผิด - อย่างไรก็ตามหากบุคคลได้เสียชีวิตลง หรือได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหรือการ
ละเมิด อายุความสูงสุดจะขยายออกไปดังนี้
(1) อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎจะกลายเป็น 20 ปี จากเดิม 10 ปี
(2) อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดจะกลายเป็น 5 ปี จากเดิม 3 ปี
- แต่สำหรับบางกรณีแล้วนั้น กฎหมายแต่ละฉบับ (เช่น พระราชบัญญัติความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์)
อาจระบุอายุความสูงสุดแตกต่างกันออกไปได้ด้วย - สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ
[ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (กฎหมายภาระผูกพัน)]
- คำอธิบายข้างต้นมาจากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลบังคับ
ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2020 - โปรดทราบว่าข้อกำหนดก่อนฉบับแก้ไขเพิ่มเติมอาจมีผลบังคับใช้ในกรณีที่เกิดความเสียหาย
ก่อนวันที่บังคับใช้
<<ในกรณีที่บทบัญญัติก่อนฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมีผลบังคับใช้>>
- อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎคือ 10 ปี นับจากเวลาที่เกิด
ความเสียหายขึ้น - อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดคือ 3 ปี นับจากเวลาที่ทราบความ
เสียหายและตัวผู้กระทำความผิด และถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบตัวผู้กระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อครบ
เวลา 20 ปีนับจากเวลาที่เกิดการละเมิดแล้ว สิทธิในการเรียกร้องจะสิ้นสุดลงทันที
02684
ถาม05: ฉันเป็นชาวต่างชาติ ต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรในญี่ปุ่น นอกจากนี้ หากเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ต้องทำอย่างไร
มีอุบัติเหตุจราจรมากมายในญี่ปุ่น และมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรประมาณ 10,000 คนทุกปี หากคุณเป็นฝ่ายผิด คุณจะต้องรับผิดชอบค่าชดใช้ก้อนโต ดังนั้นคุณควรมีความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประกันภัยในกรณีที่เรื่องเลวร้ายที่สุดได้เกิดขึ้น
(1) ประกันภัยความรับผิดรถยนต์ (ประกันภัยที่บังคับทำ)
ประกันภัยความรับผิดรถยนต์ (CALI) เป็นการประกันภัยรถยนต์ที่คุณจำเป็นต้องทำ โดยครอบคลุมเฉพาะการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้เสียหาย (* ไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อทรัพย์สิน) จำนวนเงินชดเชยสูงสุดสำหรับแต่ละคนคือ 30 ล้านเยนสำหรับการเสียชีวิตและการบาดเจ็บถาวร และ 1.2 ล้านเยนสำหรับการบาดเจ็บส่วนบุคคล
(2) ประกันภัยภาคสมัครใจ
ในปัจจุบัน มีหลายกรณีที่ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บถาวรสูงเป็นจำนวนหลายร้อยล้านเยนและค่ารักษาพยาบาลก็มีมูลค่าหลายสิบล้านเยนเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าการทำประกันภัยความรับผิดภาคบังคับเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ การประกันภัยภาคสมัครใจครอบคลุมการชดเชยสำหรับผู้ที่มีประกันในส่วนความรับผิดน้อยไป และยังครอบคลุมทรัพย์สินและรถยนต์ของคู่กรณี ตลอดจนการบาดเจ็บของคุณเองด้วย การมีประกันภาคสมัครใจช่วยให้สบายใจได้ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
(3) หากคุณประสบอุบัติเหตุจราจร แล้วได้รับบาดเจ็บขึ้นมา ให้โทรเรียกรถพยาบาลก่อน จากนั้นค่อยแจ้งตำรวจ หลังจากนั้นให้แจ้งบริษัทของคุณ หรือบริการให้คำปรึกษา หากคุณใจร้อนรีบหาทางออกด้วยตัวเอง คุณอาจประสบปัญหาร้ายแรงตามมาได้
03770
ถาม06: ฉันจะไม่สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าปลอบขวัญจากฝ่ายผู้กระทำผิดในอุบัติเหตุทางจราจรใช่หรือไม่ หากฉันไม่ได้แจ้งความกับตำรวจ
คุณสามารถเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหาย เช่น ค่ารักษาพยาบาลและค่าปลอบขวัญจากฝ่ายผู้กระทำผิดในอุบัติเหตุทางจราจรได้ แม้ว่าคุณไม่ได้แจ้งความกับตำรวจ
อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้แจ้งความ คุณอาจทำให้ฝ่ายผู้กระทำผิดมีข้ออ้างในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้ นอกจากนี้ คุณจะไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายจากบริษัทประกันของฝ่ายผู้กระทำผิดตามระบบประกันความรับผิดเกี่ยวกับรถยนต์ภาคบังคับได้
(คำอธิบาย)
ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณได้แจ้งความอุบัติเหตุทางจราจร (รายงานอุบัติเหตุ) กับตำรวจหรือไม่ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่คุณจะสามารถหรือไม่สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าปลอบขวัญจากฝ่ายผู้กระทำผิด (การเรียกร้องให้รับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง)
แต่หากคุณไม่แจ้งความ คุณจะไม่ได้รับใบแจ้งความอุบัติเหตุ (ใบรับรองการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร) ดังนั้น หากในภายหลังฝ่ายผู้กระทำผิดปฏิเสธว่าอุบัติเหตุไม่ได้ขึ้น หรือปฏิเสธที่จะจ่ายเงินชดเชยโดยอ้างความประมาทเลินเล่อโดยเปรียบเทียบ (comparative negligence) ที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ อาจส่งผลให้เป็นการยากที่จะพิสูจน์ความรับผิดของฝ่ายผู้กระทำผิดหรือความไม่เป็นธรรมของความประมาทเลินเล่อโดยเปรียบเทียบ
หากต้องการเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายจากบริษัทประกันของฝ่ายผู้กระทำผิดตามระบบประกันความรับผิดเกี่ยวกับรถยนต์ภาคบังคับ ฝ่ายผู้เสียหายต้องแจ้งความว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคคล
ขอแนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น ทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหาย
03085