Site Search
คดีความทางอาญา
โปรดอ่านก่อนใช้บริการ
- คำถามที่พบบ่อยเป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระบบกฎหมายในญี่ปุ่นและไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามที่เฉพาะเจาะจง
นอกจากนี้ในกรณีของบางคนแล้ว ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นอาจนำมาใช้ไม่ได้ - หากคุณต้องการทราบว่ามีคำถามที่พบบ่อยใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่นี่หรือไม่ หรือหากคุณต้องการปรึกษาปัญหาเฉพาะของคุณ โปรดติดต่อบริการข้อมูลหลายภาษา (0570-078377)
ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยและบริการให้คำปรึกษาตามรายละเอียดคำถามของคุณ - โปรดทราบว่า Houterasu ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากการพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลตามคำถามที่พบบ่อย
เนื้อหา
ถาม01: หลังถูกตำรวจจับ ขั้นตอนต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
・ เมื่อผู้ต้องสงสัยถูกตำรวจจับ ต่อไปจะถูกสอบสวน และหากตำรวจเห็นว่าจำเป็นต้องมีการ
ควบคุมตัวไว้ก่อน ผู้ต้องสงสัยจะถูกส่งต่อไปยังพนักงานอัยการภายใน 48 ชั่วโมงนับจากที่
เริ่มถูกควบคุมตัวในขั้นต้น
・ หากอัยการเห็นว่าจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อไปอีก อัยการอาจขอให้ผู้พิพากษากักขังตัวผู้
ต้องสงสัยภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับการส่งตัว หากผู้พิพากษาเห็นว่ามีความจำเป็นต้อง
กักขัง ผู้ต้องสงสัยจะถูกกักขังตามคำสั่งของผู้พิพากษา
・ โดยหลักการแล้วระยะเวลากักขังคือ 10 วัน แต่อาจขยายต่อได้อีก 10 วัน หากมีเหตุผล
จำเป็นเกิดขึ้น
・ ขณะกักขัง พนักงานอัยการจะตัดสินใจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ (ขอให้มีการพิจารณาคดีหรือ
การพิจารณาคดีโดยเร่งรัด)
・ หากถูกจับกุม คุณสามารถติดต่อขอให้ทนายเข้าเยี่ยมได้
(คำอธิบาย)
・ บุคคลที่ต้องสงสัยในคดีอาชญากรรมและอยู่ภายใต้การสอบสวนแต่ยังไม่ถูกตั้งข้อหา จะเรียกว่าผู้
ต้องสงสัย
・ เว้นแต่จะมีการจับกุมผู้ใดขณะกระทำความผิด การจับกุมจะดำเนินการตามหมายที่ออกโดยผู้
พิพากษา
・ ผู้ต้องสงสัยได้รับการประกันสิทธิที่จะขอคุยกับทนายในระหว่างการถูกควบคุมตัว
・ สมาคมเนติบัณฑิตยสภาในแต่ละพื้นที่มีระบบทนายประจำการ โดยทนายที่มีหน้าที่ประจำการจะมา
พบผู้ต้องสงสัย (การพบครั้งแรกไม่มีค่าใช้จ่าย) เพื่อให้คำแนะนำด้านกฎหมาย ผู้ต้องสงสัยอาจปรึกษา
กับทนายได้เช่นกัน เพื่อขอรับคำแนะนำทางกฎหมายต่อไป
・ หลังจากที่ผู้ต้องสงสัยถูกกักขังแล้วและไม่สามารถแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยได้ด้วยเหตุผลทาง
การเงินหรือเหตุผลอื่น ๆ ก็สามารถใช้ระบบทนายที่ศาลแต่งตั้งให้กับผู้ต้องสงสัยได้
・ หากไม่ถูกดำเนินคดี บุคคลนั้นมักจะได้รับการปล่อยตัว
・ หากมีผู้ถูกควบคุมตัวหลังจากถูกตั้งข้อหา ก็อาจขอให้ปล่อยตัวโดยอยู่ภายใต้การประกันตัวได้
01515
ถาม02: การกักขังหมายความว่าอย่างไร
・ เมื่อผู้พิพากษาหรือศาลตัดสินให้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยหรือจำเลย การควบคุมตัวให้เรียกว่า
การกักขัง
・ ซึ่งอาจหมายถึงการกักขังผู้ต้องสงสัย (กักขังก่อนถูกตั้งข้อหา) หรือการกักขังผู้ต้องหา
(กักขังหลังจากถูกตั้งข้อหา)
・ ในบางกรณีการจับกุมจะดำเนินการก่อนการกักขัง แต่ระยะเวลาสูงสุดที่บุคคลหนึ่งสามารถ
ถูกกักขังหลังการจับกุมได้จะเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้น คือสามวัน อย่างไรก็ตามการกักขัง
อาจทำให้ผู้ต้องสงสัยถูกควบคุมตัวไว้ต่อได้อีก ดังนี้
・ ระยะเวลากักขังผู้ต้องสงสัยคือ 10 วันตั้งแต่วันที่ขอยื่นกักขัง และอาจต่อเวลาได้สูงสุดถึง
10 วัน (หรือ 15 วันสำหรับคดีทางอาญา ฯลฯ) หากเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นจริง ๆ
・ ระยะเวลากักขังผู้ต้องหาคือสองเดือนนับจากวันที่ถูกตั้งข้อหา และอาจขยายเวลาได้ทุก
เดือนหากจำเป็น อย่างไรก็ตามหากมีเหตุผลพิเศษ เช่น หลักฐานถูกทำลาย ก็สามารถต่อเวลา
แต่อาจต่อได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
・ การกักขังผู้ต้องสงสัยสามารถอุทธรณ์ได้โดยการยื่นคำร้องกึ่งอุทธรณ์ กรณีเป็นการกักขัง
ผู้ต้องหา สามารถยื่นขอประกันตัวได้
・ ผู้ถูกกักขังสามารถให้ทนายมาเยี่ยมและให้คำแนะนำทางกฎหมายได้ ผู้ต้องสงสัยอาจ
ปรึกษากับทนายได้เช่นกัน เพื่อขอรับคำแนะนำทางกฎหมายต่อไป หากผู้ต้องหาไม่สามารถ
แต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยได้ด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น ๆ ก็สามารถใช้ทนายระบบ
ตามโครงการที่ศาลแต่งตั้งให้กับผู้ต้องสงสัยได้ (อยู่ในขั้นตอนการกักขังเบื้องต้น) หรือทนาย
ตามโครงการที่ศาลแต่งตั้งสำหรับผู้ต้องหา (หลังจากถูกตั้งข้อหา รวมถึงการกักขังภายหลัง
ตั้งข้อหาแล้ว)
・ คนในครอบครัว ฯลฯ อาจไปเยี่ยมผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาที่ถูกกักขังได้ แต่บางกรณีอาจมี
ข้อจำกัด (สอบถามล่วงหน้าที่สถานกักตัวหรือกองจัดการควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ)
(คำอธิบาย)
・ การที่ผู้พิพากษาหรือศาลจะตัดสินใจเกี่ยวกับการกักขังได้นั้น ต้องเข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ ได้แก่ มีเหตุอัน
ควรสงสัยว่าบุคคลนั้นก่ออาชญากรรม มีเหตุผลในการกักขัง และมีความจำเป็นต้องกักขัง
・ ผู้พิพากษาหรือศาลต้องยกเลิกการกักขัง หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในการกักขังอีกต่อไป
01522
ถาม03: การสอบสวนจะดำเนินการอย่างไร
・ การสอบสวนทางอาญามักจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายตุลาการ)
ตำรวจสัมภาษณ์เหยื่อ ระบุตัวผู้ต้องสงสัย สอบปากคำผู้ต้องสงสัย และรวบรวมหลักฐานที่
เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ในกรณีจำเป็น ผู้ต้องสงสัยจะถูกจับกุมและกักขัง
・ เจ้าหน้าที่ตำรวจ (เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายตุลาการ) จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพร้อมกับ
เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
・ ในกรณีจำเป็น พนักงานอัยการอาจดำเนินการสอบสวนเอง
・ ผลการสอบสวนจะชี้ขาดว่าพนักงานอัยการจะตัดสินใจตั้งข้อหากับผู้ต้องสงสัยหรือไม่
・ มีการจำกัดกรอบเวลาควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย (สูงสุดได้ 23 วัน) ดังนั้นพนักงานอัยการต้อง
ตัดสินใจในช่วงนี้ว่าจะดำเนินคดีหรือไม่
・ หากผู้ต้องสงสัยไม่ได้ถูกควบคุมตัว การตัดสินใจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่จะไม่มีกรอบเวลา
ดังนั้นจึงไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและรวดเร็วว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนในการสอบสวนให้เสร็จ
สิ้น
(คำอธิบาย)
การสอบสวนทางอาญาดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ
01514
ถาม04: คนในครอบครัว ญาติ เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเพื่อนของฉันถูกจับกุม ฉันจะหาทนายไปเยี่ยมพวกเขาได้อย่างไร
・ หากยื่นคำร้องกับเนติบัณฑิตยสภาเพื่อขอให้ทนายประจำหน้าที่ไปเยี่ยม ก็สามารถให้ทนาย
ไปพบบุคคลนั้นได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
・ ทนายประจำหน้าที่คนดังกล่าวจะให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่ผู้ถูกจับกุม ทนายประจำ
หน้าที่อาจให้คำปรึกษาด้านการขอรับคำแนะนำทางกฎหมายต่อไป
(คำอธิบาย)
・ ตามระบบทนายประจำหน้าที่ ทนายจะไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในครั้งแรก ระบบนี้
จัดทำโดยสมาคมเนติบัณฑิตยสภาประจำจังหวัด
・ ผู้ถูกจับกุมสามารถร้องขอไปยังเนติบัณฑิตยสภาโดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ หรือสมาชิกใน
ครอบครัว หรือเพื่อนของผู้ถูกจับสามารถโทรไปที่เนติบัณฑิตยสภาที่มีเขตอำนาจในพื้นที่สถานีตำรวจ
ดังกล่าว ฯลฯ และขอรับทนายประจำหน้าที่
・ ทนายประจำหน้าที่จะให้คำแนะนำทางกฎหมายและอธิบายสิทธิ์ที่ผู้ถูกจับกุมพึงมี รวมทั้งกระบวนการ
หลังการจับกุม วิธีตอบคำถามการสอบสวน และวิธีระงับข้อพิพาทส่วนตัวกับเหยื่อ ทนายประจำหน้าที่
อาจให้คำปรึกษาด้านการขอรับคำแนะนำทางกฎหมายต่อไป
02026
ถาม05: ถ้าไม่มีเงินจ้างทนาย ฉันควรทำอย่างไร
・ สำหรับคดีแพ่ง มีระบบช่วยเหลือทางกฎหมายแพ่ง
・ สำหรับผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมในคดีอาญาที่ยังไม่ได้ถูกควบคุมตัว จะได้รับความช่วยเหลือ
จากสหพันธ์เนติบัณฑิตยสภาแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อคุ้มกันผู้ต้องสงสัยในคดีอาญา สำหรับผู้
ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัว (รวมถึงผู้ต้องหาที่ไม่ได้ถูกควบคุมตัว) สามารถใช้เท
นายในระบบที่ศาลแต่งตั้งได้
(คำอธิบาย)
(1) คดีแพ่ง
・ ระบบความช่วยเหลือทางกฎหมายทางแพ่งเป็นระบบของ Houterasu มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทาง
กฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายและอาลักษณ์ตุลาการ
รวมถึงค่าธรรมเนียมศาล สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งหรือคดีครอบครัวแต่ไม่อาจขอรับความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายหรือผู้พิจารณาคดีได้ เนื่องจากปัญหาด้านการเงิน
・ หากต้องการเข้าร่วมระบบช่วยเหลือทางกฎหมายทางแพ่ง รายได้และทรัพย์สินของผู้สมัครต้องต่ำ
กว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้เข้าร่วมต้องมีโอกาสชนะคดีมากพอสมควร และพิจารณาแล้วจัดว่าเหมาะสม
สำหรับวัตถุประสงค์ของระบบนี้
・ โดยหลักการแล้ว ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ Houterasu ชำระล่วงหน้าในนามของผู้ขอรับจะต้องชำระคืน
เป็นงวด
(2) คดีอาญา
・ ความช่วยเหลือด้านการคุ้มครองผู้ต้องสงสัยในคดีอาญาเป็นระบบที่ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยที่
ถูกจับกุมแต่ยังไม่ได้ถูกควบคุมตัว เพื่อให้สามารถจ้างทนายได้แม้ว่าจะประสบปัญหาทางการเงินก็ตาม
โครงการนี้ไม่ครอบคลุมผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ถูกจับกุม นอกจากนี้ผู้ที่ถูกคุมตัวมีสิทธิ์ตามระบบทนายที่
ศาลแต่งตั้งอยู่แล้ว โครงการนี้จึงครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ยังไม่ถูกควบคุมตัวเท่านั้น
・ ระบบทนายที่ศาลแต่งตั้งหมายถึงโครงการแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยโดยศาลให้กับผู้ต้องสงสัยหรือ
ผู้ต้องหาที่ถูกคุมขัง (รวมถึงผู้ต้องหาที่ไม่ได้ถูกคุมขัง) หากบุคคลนั้นไม่สามารถแต่งตั้งทนายฝ่าย
จำเลยได้เพราะเกิดปัญหาด้านการเงิน รวมถึงเหตุผลอื่น ๆ ผู้ต้องหาที่ไม่ได้ถูกคุมขังมีสิทธิ์ขอความ
ช่วยเหลือภายใต้ระบบนี้ แต่ผู้ต้องสงสัยที่ไม่ได้ถูกคุมขังจะไม่ได้รับสิทธินี้
・ เมื่อผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาร้องขอทนายฝ่ายจำเลยที่แต่งตั้งโดยศาลแล้ว ทางศาล (ผู้พิพากษา)
จะขอให้ Houterasu เสนอชื่อและแจ้งรายชื่อว่าที่ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง Houterasu จะเสนอ
ชื่อและแจ้งรายชื่อว่าที่ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง เมื่อได้รับแจ้ง ศาล (ผู้พิพากษา) จะแต่งตั้งทนาย
คนดังกล่าวให้เป็นทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง
01535
ถาม06: ทนายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งหมายถึงอะไร
・ เป็นระบบที่ศาลจะแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลย (ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง) ให้กับผู้ต้อง
สงสัยและผู้ต้องหาที่ไม่สามารถแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยได้ด้วยเหตุผลด้านการเงินหรือเหตุผล
อื่น ๆ ทนายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งมีสองประเภท คือ (ก) ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งสำหรับผู้
ต้องสงสัย และ (ข) ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งสำหรับผู้ต้องหา
・ หากมีผู้มีสิทธิ์ขอแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยตามที่ศาลแต่งตั้ง ศาล (ผู้พิพากษา) จะสอบถาม
บุคคลดังกล่าวว่าต้องการให้มีการแต่งตั้งหรือไม่
・ ในทางกลับกัน หากผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา หรือญาติของพวกเขาทำสัญญาโดยตรงกับทนาย
เพื่อแต่งตั้งให้เป็นทนายฝ่ายจำเลย ก็จะเรียกว่าทนายเช่นนี้ว่าทนายจำเลยแบบส่วนตัว
(คำอธิบาย)
(ก) ทนายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งให้ผู้ต้องสงสัย
・ ผู้ต้องสงสัยคือบุคคลที่ต้องสงสัยว่าก่ออาชญากรรมโดยหน่วยงานสอบสวน แต่ยังไม่ถูกตั้งข้อหา
・ หากผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขังไม่สามารถแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยด้วยตนเองได้เพราะปัญหาทางการเงิน
หรือเหตุผลอื่น ๆ ก็อาจขอให้ผู้พิพากษาแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งให้ได้
(ข) ทนายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งให้ผู้ต้องหา
・ ผู้ต้องหาคือบุคคลที่ต้องสงสัยว่าก่ออาชญากรรมและถูกอัยการตั้งข้อหา
・ หากผู้ต้องหาไม่สามารถแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยส่วนตัวได้ด้วยเหตุผลทางการเงินหรือเหตุผลอื่น
พวกเขาอาจขอให้ศาลแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง
・ ภายใต้รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ในการพิจารณาคดีอาญา ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลย
ได้เสมอ แต่หากไม่สามารถทำได้ ศาลก็จะแต่งตั้งให้
(คำอธิบายต่อไปนี้ใช้กับทั้ง (ก) และ (ข))
・ หากผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาร้องขอให้ศาล (ผู้พิพากษา) แต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง ก็
จะต้องเตรียมและส่งเอกสารชี้แจงสถานะการเงินของตน หากบุคคลดังกล่าวมีทรัพย์สินเกินกว่าที่
กำหนด (500,000 เยน) บุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องล่วงหน้าเพื่อแต่งตั้งทนายส่วนตัวฝ่ายจำเลย
・ หากบุคคลดังกล่าวมีสิทธิ์ร้องขอการตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง ก็จะมีโอกาสยืนยันว่าต้องการ
ให้แต่งตั้งหรือไม่ และอาจขอได้ในเวลานั้นเลย
・ หากศาลตัดสินให้มีการแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้งหลังจากที่ผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาได้
ร้องขอแล้ว ทางศาล (ผู้พิพากษา) จะขอให้ Houterasu เสนอชื่อและแจ้งรายชื่อว่าที่ทนายฝ่ายจำเลย
ที่ศาลแต่งตั้ง Houterasu จะเสนอชื่อและแจ้งรายชื่อว่าที่ทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง และทนายราย
ดังกล่าวจะได้รับการแต่งตั้งเป็นทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง
・ การตัดสินที่มีขึ้นนั้น ทางศาล (ผู้พิพากษา) อาจสั่งให้บุคคลที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดต้องรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายของทนายฝ่ายจำเลยที่ศาลแต่งตั้ง (ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย)
01530