このページの先頭ですサイトメニューここから
このページの本文へ移動
サイト内検索
本文ここから

หนี้และเงินกู้

更新日:2023年8月3日

โปรดอ่านก่อนใช้บริการ

  • คำถามที่พบบ่อยเป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระบบกฎหมายในญี่ปุ่นและไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามที่เฉพาะเจาะจง
    นอกจากนี้ในกรณีของบางคนแล้ว ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นอาจนำมาใช้ไม่ได้
  • หากคุณต้องการทราบว่ามีคำถามที่พบบ่อยใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่นี่หรือไม่ หรือหากคุณต้องการปรึกษาปัญหาเฉพาะของคุณ โปรดติดต่อบริการข้อมูลหลายภาษา (0570-078377)
    ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยและบริการให้คำปรึกษาตามรายละเอียดคำถามของคุณ
  • โปรดทราบว่า Houterasu ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากการพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลตามคำถามที่พบบ่อย

เนื้อหา

ถาม01: ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ของฉันกำหนดให้ฉันจ่ายเงินประกันด้วย ฉันต้องจ่ายเงินนี้ไปเพื่อเหตุใด

วิธีหลัก ๆ ในการรวมหนี้มีดังนี้ (1) การทำข้อตกลงโดยสมัครใจ (2) กระบวนการล้มละลาย (3) กระบวนการฟื้นฟูสถานะการเงินส่วนบุคคล (4) การประนีประนอมแบบพิเศษ

 

(คำอธิบาย)

  • คำว่า “หนี้หลายราย” หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้กู้ทำการกู้ยืมเพิ่มเพื่อชำระหนี้รอบก่อนหน้า หาก
    คุณตกอยู่ในสถานการณ์นี้และไม่อาจชำระหนี้ได้อีกต่อไป คุณต้องรีบจัดทำแผนรวมหนี้โดยเร็ว
    ที่สุด
  • การรวมหนี้เป็นกระบวนการจัดโครงสร้างหนี้และสร้างสถานะทางการเงินของลูกหนี้ขึ้นใหม่ โดย
    การนำพระราชบัญญัติจำกัดอัตราดอกเบี้ยและขั้นตอนทางกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติ
    ล้มละลาย) มาใช้เพื่อลด ยกเว้น หรือเลื่อนการชำระหนี้

(1) การทำข้อตกลงโดยสมัครใจ: เป็นวิธีที่ลูกหนี้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ทนายหรือผู้พิจารณาคดี ช่วยเจรจากับเจ้าหนี้, กำหนดจำนวนหนี้ (หากอัตราดอกเบี้ยสูง ก็อาจลดลงได้มากหรืออาจได้เงินคืน) และช่วยบรรลุข้อตกลงเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน ที่ลูกหนี้จะสามารถชำระได้

(2) กระบวนการล้มละลาย: เป็นกระบวนการในชั้นศาลเพื่อให้มีการปลดหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

(3) กระบวนการฟื้นฟูสถานะการเงินส่วนบุคคล: เป็นกระบวนการในชั้นศาล ซึ่งบุคคลที่มีปัญหาในการชำระหนี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระหนี้ที่เหลือหลังจากที่ชำระหนี้ไปจำนวนหนึ่งแล้ว

(4) การประนีประนอมแบบพิเศษ: เป็นกระบวนการในชั้นศาล โดยศาลจะเข้าไปแทรกแซงเจ้าหนี้และลูกหนี้เพื่อกำหนดจำนวนหนี้และบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับจำนวนหนี้รายเดือนที่ลูกหนี้จะสามารถชำระได้

  • คำอธิบายกระบวนการข้างต้นนี้เป็นเพียงคำอธิบายคร่าว ๆ ยังมิใช่คำจำกัดความที่ถูกต้อง
    ครบถ้วน แต่ละกระบวนการมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้เปรียบเทียบแต่
    ละกระบวนการและปรึกษากับทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ เพื่อพิจารณาหาวิธีที่
    เหมาะสมกับคุณที่สุด

00790

ถาม02: หากฉันลืมจ่ายค่าเช่า และเจ้าของบ้านสั่งให้ย้ายออกจากห้อง ฉันต้องย้ายออกหรือไม่

  • กระบวนการล้มละลายส่วนบุคคลเป็นกระบวนการการยื่นคำร้องที่เริ่มต้นจากการที่
    บุคคลดังกล่าวไม่สามารถชำระหนี้ได้
  • เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอเข้ากระบวนการล้มละลาย ให้ถือว่าลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอ
    ปลดหนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

(คำอธิบาย)

  • หากบุคคลที่ล้มละลายไม่มีทรัพย์สิน (กองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย) ณ เวลาที่กระบวนการ
    ล้มละลายเริ่มขึ้นและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าไม่มีเหตุที่จะปฏิเสธการปลดหนี้ กระบวนการล้มละลายจะ
    สิ้นสุดลงทันทีที่ได้พิจารณาให้เริ่มต้นกระบวนการล้มละลายแล้ว และคดีจะดำเนินต่อในส่วนของ
    กระบวนการปลดหนี้
  • หากคาดว่ามูลค่าทรัพย์สินที่อยูในกองทรัพย์สินในคดีล้มละลายจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายใน
    กระบวนการ หรือหากมีเหตุที่น่าสงสัยในการปฏิเสธการปลดหนี้ ศาลจะทำการแต่งตั้งผู้จัดการ
    ทรัพย์สินตามดุลยพินิจของศาล
  • ผู้จัดการทรัพย์สินที่ได้รับการแต่งตั้งจะสิ้นสุดหน้าที่ลงก็ต่อเมื่อศาลได้พิพากษากระบวนการ
    ล้มละลายแล้วหลังจากที่ผู้จัดการทรัพย์สินได้รับรู้ แบ่งทรัพย์สินที่อยู่ในกองมรดกล้มละลาย และ
    รายงานเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เรียบร้อยแล้ว
  • บุคคลที่ล้มละลายสามารถโยกย้ายเงินสดไม่เกิน 990,000 เยนที่อยู่ในกองทรัพย์สินในคดี
    ล้มละลายได้โดยอิสระ (สินทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้น)
  • หากมีเหตุให้ปฏิเสธการปลดหนี้ จะไม่สามารถทำการปลดหนี้ได้ ทว่าศาลอาจอนุญาตให้ปลด
    หนี้ได้แม้ว่าจะมีเหตุให้ปฏิเสธ โดยศาลจะพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่นำไปสู่การตัดสินใจที่จะเริ่ม
    กระบวนการล้มละลายและพฤติการณ์อื่น ๆ ทั้งหมด
  • เหตุให้ปฏิเสธการปลดหนี้ ได้แก่ การเล่นพนัน การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อสิ่งบันเทิง การฉ้อโกง
    เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินกู้ การนำส่งเอกสารอันเป็นเท็จต่อศาล เป็นต้น
  • เมื่อได้รับอนุมัติให้ปลดหนี้แล้ว บุคคลที่ล้มละลายไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ใด ๆ หลังเริ่ม
    กระบวนการล้มละลาย ยกเว้น ค่าเลี้ยงดูบุตร ภาษี และค่าปรับ นอกจากนี้ บุคคลล้มละลายจะพ้น
    จากการจำกัดสิทธิในทางกฎหมาย
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ (นอกจากนี้
    คุณยังสามารถตรวจสอบเอกสารและขั้นตอนที่จำเป็นในการยื่นคำร้องที่ศาลแขวงได้)

00793
 

ถาม03: ผู้เช่ามีหน้าที่อะไรบ้างในการรักษาสภาพบ้านเช่าให้เรียบร้อยเหมือนเดิม

  • ตามกฎข้อบังคับภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลายนั้น หากยังไม่พ้น 7 ปีนับแต่การปลด
    หนี้ครั้งล่าสุดของคุณ คุณจะขอรับการปลดหนี้อีกไม่ได้
  • บางกรณีแม้จะยังไม่พ้นกำหนด 7 ปีนั้น แต่ศาลอาจตัดสินให้ปลดหนี้ได้หลังจากได้
    พิจารณารายละเอียดต่าง ๆ แล้ว

 

(คำอธิบาย)

  • พระราชบัญญัติล้มละลายอนุญาตให้มีการปลดหนี้ได้ตราบเท่าที่ยังไม่พบเหตุแห่งการปฏิเสธการ
    ปลดหนี้
  • การได้รับการปลดหนี้ภายใน 7 ปีที่ผ่านมาถือเป็นเหตุให้ปฏิเสธการปลดหนี้ได้ ดังนั้นตามกฎ
    ข้อบังคับแล้ว จะไม่อนุมัติให้ปลดหนี้ได้ด้วยพฤติการณ์เช่นนี้
  • แม้ว่าจะมีเหตุให้ปฏิเสธการปลดหนี้ ศาลอาจอนุมัติให้ปลดหนี้ได้ตามดุลยพินิจของศาล หาก
    เห็นว่าเหมาะสมจากการพิจารณาทุกพฤติการณ์แล้ว ซึ่งรวมไปถึงพฤติการณ์ที่จะนำไปสู่การ
    ล้มละลายครั้งที่สองด้วย
  • ในกรณีนี้ แม้ว่าคุณจะได้รับการปลดหนี้แล้วภายใน 7 ปีที่ผ่านมา คุณอาจได้รับการปลดหนี้โดย
    ดุลยพินิจได้อีกเป็นกรณีพิเศษ สำหรับความเป็นไปได้ที่จะได้รับการปลดหนี้โดยดุลยพินิจ โปรด
    ปรึกษาทนาย

00795

ถาม04: ผู้เช่าควรมีภาระผูกพันในการซ่อมสิ่งของแค่ไหนในการส่งคืนอสังหาริมทรัพย์ในสภาพเดิม

คือกระบวนการที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องปรึกษาหารือกันส่วนตัวและรวมหนี้โดยไม่ต้องใช้หน่วยงานของรัฐ เช่น ศาล

 

(คำอธิบาย)

  • การทำข้อตกลงโดยสมัครใจ คือ การขอให้ทนายหรืออาลักษณ์ตุลาการที่ได้รับการรับรองออก
    หนังสือแจ้งไปยังผู้ให้กู้ (บริษัทเงินทุน) และขอให้เปิดเผยประวัติการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ใน
    หลาย ๆ กรณี จะมีการทำข้อตกลงในการชำระคืนเงินต้นส่วนที่เหลือ ซึ่งถูกคำนวณใหม่แล้วโดยใช้
    อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจำกัดอัตราดอกเบี้ย โดยให้ชำระเป็นงวด ๆ ใน
    ระยะเวลา 3-5 ปี
  • การทำข้อตกลงโดยสมัครใจจะไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายในด้านสิทธิแบบที่บุคคลล้มละลายมี
  • เจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยในการปรึกษาหารือนี้

01424
 

ถาม05: ฉันควรทำอย่างไรกับปัญหาเสียงรบกวน (เพลง เครื่องซักผ้า ฯลฯ) กับเพื่อนบ้านในอพาร์ตเมนต์ของฉัน

เรื่องนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันของคุณ (ส่วนต่างระหว่างรายรับและรายจ่าย) และจำนวนเงินที่คุณจะชำระคืนได้ คุณอาจจะต้องเลือกระหว่างกระบวนการล้มละลายส่วนบุคคล การฟื้นฟูสถานะทางการเงินของพลเมือง การทำข้อตกลงโดยสมัครใจอีกครั้ง หรือการประนีประนอมแบบพิเศษ

 

(คำอธิบาย)

  • หากสถานการณ์ทางการเงินของคุณ ณ เวลาที่คุณเลือกทำข้อตกลงโดยสมัครใจแย่ลงเรื่อย ๆ
    คุณจำเป็นต้องพิจารณาถึงกระบวนการรวมหนี้ตามสถานการณ์ทางการเงินรอบใหม่ของคุณ
  • หากมีจำนวนเงินที่คุณสามารถชำระได้ และหากยังสามารถเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อแก้ไขแผนการ
    ชำระหนี้คืนได้ คุณควรทำข้อตกลงโดยสมัครใจอีกรอบหรือยื่นคำร้องขอประนอมหนี้ได้
  • หากสามารถชำระหนี้ในกรณีที่หนี้มีจำนวนลดลงมากได้ คุณควรพิจารณายื่นคำร้องเพื่อขอฟื้นฟู
    สถานะการเงินของพลเมืองได้
  • หากคุณไม่มีหรือมีเงินชำระหนี้เพียงเล็กน้อย คุณควรยื่นคำร้องเพื่อขอเข้าสู่กระบวนการ
    ล้มละลายส่วนบุคคล
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ

01941
 

ถาม06: การฟื้นฟูสถานะทางการเงินส่วนบุคคลมีขั้นตอนอย่างไร

คือกระบวนการการฟื้นฟูสถานะทางการเงินของพลเมืองที่ใช้โดยบุคคลที่มีปัญหาในการชำระหนี้

 

(คำอธิบาย)

  • กระบวนการฟื้นฟูสถานะทางการเงินส่วนบุคคล คือขั้นตอนจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการสำหรับบุคคล
    ที่มีปัญหาในการชำระหนี้เพื่อลดยอดหนี้ที่ต้องจ่ายและผ่อนชำระด้วยยอดที่ลดลงเป็นระยะเวลา 3
    ปีตามปกติ และหากศาลอนุมัติแผนหลังจากได้รับฟังความคิดเห็นของเจ้าหนี้แล้ว หนี้ที่เหลือ
    (ยกเว้นหนี้บางประเภท เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตรและภาษี) จะถูกปลดโดยการชำระคืนตามแผน
  • กระบวนการฟื้นฟูสถานะทางการเงินส่วนบุคคลมีดังนี้

1. การฟื้นฟูสถานะทางการเงินส่วนบุคคลที่มีหนี้น้อย

การจะใช้กระบวนการนี้ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • ยอดหนี้ทั้งหมด (ไม่รวมการจำนอง) ต้องน้อยกว่า 50 ล้านเยน
  • ผู้ยื่นคำร้องจะต้องมีแนวโน้มทำรายได้ในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง

2. การฟื้นฟูสถานะทางการเงินของแรงงานที่ได้รับเงินเดือน

กระบวนการนี้มุ่งเน้นที่แรงงานที่ได้รับเงินเดือนเป็นหลัก การจะใช้กระบวนการนี้ นอกจากเงื่อนไขในข้อ 1 แล้ว ยังต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  • รายได้ของผู้ยื่นคำร้องต้องคงที่ ถูกจ่ายในรูปแบบของเงินเดือน ฯลฯ
  • สำหรับบุคคลที่มีหนี้จำนองนอกเหนือจากหนี้บริษัทสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ฯลฯ สามารถเพิ่ม
    บทบัญญัติพิเศษสำหรับการจำนองได้ แต่จะไม่เหมือนหนี้ประเภทอื่น ๆ เพราะจำนวนเงินทั้งหมดที่
    ต้องชำระในการจำนองไม่สามารถลดได้
  • จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระคืนให้เจ้าหนี้มีดังนี้ (จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระคืนนั้นอาจแตกต่าง
    กันไปขึ้นอยู่กับสถานะการเงินของผู้ยื่นคำร้อง เป็นต้น)

1. สำหรับการฟื้นฟูสถานะการเงินส่วนบุคคลที่มีหนี้น้อย:

แนวทางคร่าว ๆ หากยอดหนี้ทั้งหมด (ไม่รวมการจำนอง)

น้อยกว่า 1 ล้านเยน: หนี้เต็มจำนวน

1 - 5 ล้านเยน: 1 ล้านเยน

มากกว่า 5 ล้านเยน - 15 ล้านเยน: 1/5 ของหนี้ทั้งหมด

มากกว่า 15 ล้านเยน - 30 ล้านเยน: 3 ล้านเยน

มากกว่า 30 ล้านเยน - 50 ล้านเยน เยน: 1/10 ของหนี้ทั้งหมด

2. ในการฟื้นฟูสถานะทางการเงินของแรงงานที่ได้รับเงินเดือน

หากได้จำนวนเงินที่มากกว่า หลังจากเทียบจำนวนเงินที่คำนวณแล้วในข้อ 1 กับจำนวนรายได้ที่จับจ่ายได้ของผู้ยื่นคำร้อง (รายได้รวมของผู้ยื่นคำร้องที่หักภาษีและค่าครองชีพขั้นต่ำแล้ว) สำหรับ 2 ปี

*หากใช้ข้อกำหนดพิเศษสำหรับสินเชื่อจำนอง จะต้องชำระส่วนที่จำนองแยกกับการชำระข้างต้น

  • โปรดปรึกษาทนายหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ว่าคุณต้องใช้การฟื้นฟูสถานะการเงินส่วนบุคคลที่
    มีหนี้น้อยหรือการฟื้นฟูสถานะการเงินของแรงงานที่ได้รับเงินเดือนหรือไม่ และจำนวนเงินที่ต้อง
    ชำระคืนจริงควรเป็นเป็นเท่าไหร่เมื่อคุณใช้แผนการฟื้นฟูแบบใดแบบหนึ่ง
  • การปฏิบัติตามตารางกำหนดการสำหรับกระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่เริ่มกระบวนการฟื้นฟูไปจนถึงการ
    อนุมัติแผนฟื้นฟูถือเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้ โปรดทราบว่าหากคุณไม่สามารถชำระเงินได้ในช่วง
    ชำระเงินคืน แผนการฟื้นฟูอาจถูกเพิกถอนและคุณอาจต้องชำระหนี้เดิมเต็มจำนวน นี่เป็น

00802

ถาม07:หนี้และดอกเบี้ยจะระงับเมื่อครบกำหนดอายุความกี่ปี

ตามกฎข้อบังคับทั่วไป หนี้จะระงับตามอายุความเมื่อพ้น 5 ปีนับแต่วันครบกำหนดชำระ (วันที่ชำระหนี้และดอกเบี้ย)

ทว่าแม้ว่าจะพ้นกำหนดอายุความ หนี้และดอกเบี้ย (หนี้สิน) จะไม่ได้ระงับไปโดยอัตโนมัติ ในการระงับหนี้ ลูกหนี้จำเป็นต้องแสดงเจตจำนงโดยอ้างอายุความ (เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงบางประการเพื่อประโยชน์แห่งตน) หลังจากพ้นกำหนดอายุความ

[สำหรับหนี้สิน (หนี้และดอกเบี้ย) ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ (1 เมษายน 2020)] หนี้และดอกเบี้ยจากบุคคลและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่ไม่ได้จัดตั้งเป็นบริษัทจะถูกระงับอายุความหลังจาก 10 ปี (ทว่า ในกรณีนี้ หากผู้กู้เป็นประกอบการ อายุความจะเป็น 5 ปี)

 

(คำอธิบาย)

  • สิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระเงิน (สิทธิการเรียกรับเงิน) จะสิ้นสุดลงตามอายุความ เมื่อ “พ้น 5 ปี
    นับตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้รับรู้ว่าสามารถใช้สิทธิได้” หรือ “พ้น 10 ปีนับตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้สามารถใช้
    สิทธิได้” เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่นในประมวลกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายอื่น ๆ
  • ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้และดอกเบี้ยได้เมื่อถึงกำหนดชำระตามสัญญาเงินกู้ ดังนั้น
    อายุความจะสิ้นสุดลงเมื่อพ้น 5 ปีนับแต่วันที่ผู้ให้กู้รู้ว่าถึงวันครบกำหนดแล้ว หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับ
    แต่วันครบกำหนด
  • แต่หากผู้กู้ชำระหนี้บางส่วนหลังจากวันที่ครบกำหนด ระยะเวลาอายุความจะกลับไปเป็นศูนย์และ
    จะเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้ง แบบนี้เรียกว่า “การต่ออายุความ”
  • เช่น หากผู้ให้กู้ยื่นฟ้องเพื่อให้มีการชำระหนี้และดอกเบี้ยหลังจากวันครบกำหนดชำระ วันสิ้นสุด
    อายุความจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าคำพิพากษาจะสิ้นสุด นอกจากนี้จะมีการต่ออายุความให้ผู้ให้กู้
    หากคำพิพากษาของศาลที่อนุมัติคำร้องของผู้ให้กู้ถึงที่สุดแล้ว ในกรณีนี้ อายุความจะมีกำหนดถึง
    10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

การกำหนดอายุความนั้นต้องใช้ดุลยพินิจทางกฎหมายที่รอบคอบเป็นพิเศษ สำหรับข้อมูล
เพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ

00773

ถาม08:ฉันขอดูข้อมูลเครดิตของฉันได้หรือไม่

คุณสามารถขอดูข้อมูลได้ที่เครดิตบูโรที่สถาบันการเงินที่คุณทำธุรกรรมอยู่เป็นสมาชิก

 

(คำอธิบาย)

  • เครดิตบูโรได้รับการจัดตั้งขึ้นสำหรับใช้ในธุรกิจบัตรเครดิต การธนาคาร และสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค
  • คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลลงทะเบียนของคุณได้ที่สำนักงานเหล่านี้ แต่วิธีการและขั้นตอนใน
    การตรวจสอบจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์กร
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดตรวจสอบกับสำนักงานแห่งนั้น ๆ

00764

ถาม09:หากฉันจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกิน จะขอคืนได้ไหม

การคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย (15–20% ต่อปี) จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติการจำกัดอัตราดอกเบี้ย และหากคุณได้ชำระเกินก็ขอเงินจำนวนนั้นคืนได้

 

(คำอธิบาย)

  • พระราชบัญญัติการจำกัดอัตราดอกเบี้ยได้กำหนดวงเงินสูงสุดของดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ดังต่อไปนี้

1. เงินต้นน้อยกว่า 100,000 เยน: 20% ต่อปี

2. เงินต้นตั้งแต่ 100,000 เยนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 1 ล้านเยน: 18% ต่อปี

3. เงินต้นตั้งแต่ 1 ล้านเยนขึ้นไป: 15% ต่อปี

  • แม้ว่าคุณจะทำสัญญาว่าจะชำระดอกเบี้ยเกินวงเงินนี้ สัญญาใด ๆ ที่เกินวงเงินนี้จะถือเป็นโมฆะ
    ทั้งสิ้น
  • หากคุณชำระดอกเบี้ยเกินวงเงิน วงเงินที่เกินนั้นจะถูกนำไปหักลบกับเงินต้น ทำให้เงินต้นลดลง
  • เงินที่ผู้กู้ยังคงจ่ายต่อถึงแม้ว่าเงินต้นจะลดลงเหลือศูนย์แล้ว จะถือว่าได้รับโดยผู้ให้กู้ (บริษัท
    เงินทุน) โดยที่กฎหมายไม่รองรับ (ลาภมิควรได้) และผู้กู้สามารถเรียกร้องเงินจำนวนนั้นคืนได้
  • แต่หากก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2010 ผู้ให้กู้ (บริษัทเงินทุน) ให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ย 29.2%
    หรือน้อยกว่าต่อปี เงินกู้นั้นถือว่าเป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจการ
    ให้ยืมเงิน และผู้กู้ตกลงที่จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาโดยสมัครใจ ผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ย
    (บทบัญญัติการชำระเงินที่ได้รับความยินยอม) อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติการชำระเงินที่ได้รับความ
    ยินยอมถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2010

00820

ถาม10:ฉันกู้เงินจากเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ ฉันควรจะทำอย่างไร

  • ไม่ได้มีข้อกำหนดทางกฎหมายใดบอกไว้ว่าต้องชำระเงินคืน
  • ขอให้ดำเนินคดีทางกฎหมาย แล้วอย่าติดต่อเจ้าหนี้รายนั้นอีก หากคุณให้หมายเลข
    โทรศัพท์ที่ทำงาน ญาติ ฯลฯ ไปในตอนที่กู้เงิน คุณควรแจ้งที่ทำงาน ญาติ ไว้ล่วงหน้า

    เพื่อให้สามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อการล่วงละเมิดจากเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบและไม่ควร
    ชำระเงินคืน
  • หากยังมีการทวงเงินโดยใช้ความรุนแรง โปรดปรึกษาตำรวจ ทนาย หรือผู้พิจารณาคดี

 

(คำอธิบาย)

  • “เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ” คืออาชญากรที่ปล่อยเงินกู้ เรียกร้องให้ชำระเงิน และรับดอกเบี้ยเกิน
    20% ต่อปี (29.2% ต่อปีก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2010) ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติควบคุม
    การรับเงินบริจาค การรับเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ย ถือเป็นความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษ
    รุนแรง
  • เงินที่ปล่อยกู้โดยเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบถือได้ว่าเป็นการฉวยโอกาสคิดดอกเบี้ยเกินอัตราโดยเอา
    ข้ออ้างกู้ยืมมาอ้างเท่านั้น การที่กฎหมายไม่ยินยอมให้ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายยืมอำนาจไปใช้ได้ มีการ
    กล่าวถึงในหลักการว่า “ผู้ที่ร้องขอความยุติธรรมต่อศาลจะต้องไปด้วยมือที่สะอาด” (Clean hands doctrine) ซึ่งอยู่ในบทบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติเพื่อเหตุอันมิชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 708 แห่ง
    ประมวลกฎหมายแพ่ง) ซึ่งระบุไว้ว่าบุคคลที่ได้ยื่นคำร้องตามภาระผูกพันในเหตุที่ผิดกฎหมาย ไม่
    อาจเรียกร้องให้คืนของที่ตนยื่นเสนอได้ ดังนั้นจึงถือว่าไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายที่จะต้องส่งคืน
  • มีหลายกรณีที่เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบได้ขอหมายเลขโทรศัพท์ของนายจ้าง ญาติ ฯลฯ เมื่อให้กู้
    เงิน และพยายามบังคับให้มีการชำระเงินคืนโดยใช้วิธีการล่วงละเมิดในกรณีที่ไม่ได้รับชำระหรือ
    ลูกหนี้ไปฟ้องตำรวจ การเรียกชำระเงินในช่วงเช้า หรือกลางคืน หรือการเรียกเก็บเงินจากบุคคลที่
    ไม่ได้มีหน้าที่ต้องชำระ ถือเป็นการกระทำต้องห้ามตามพระราชบัญญัติธุรกิจการให้ยืมเงินและยัง
    เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ และมีบทลงโทษทางกฎหมาย
  • การยอมทำตามคำขู่ของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบหรือไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง อาจทำให้ไม่
    สามารถหลุดจากวงจรของเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบได้ ดำเนินการทางกฎหมายอย่างจริงจังและ
    หลีกเลี่ยงการติดต่อเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบอีก

00783

ถาม11:ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันร่วมคืออะไร

ผู้ค้ำประกันร่วมต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้ทั้งหมดในทันทีเมื่อลูกหนี้หลักไม่สามารถชำระคืนได้ตามกำหนด

 

(คำอธิบาย)

  • การค้ำประกันร่วมกัน หมายถึงการค้ำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่เป็นภาระร่วมกันกับลูกหนี้หลัก
  • ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบในการชำระคืนทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าเสียหายที่เกี่ยวข้อง
    กับเงินต้น
  • หากภาระค้ำประกันนั้นมากกว่าภาระผูกพันหลัก ภาระค้ำประกันจะจำกัดแค่เงินต้นเท่านั้นที่ต้อง
    รับชำระ กล่าวคือไม่สามารถชำระเกินเงินต้นได้
  • นอกจากนี้ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันจะไม่เพิ่มขึ้นแม้ว่าหนี้เงินต้นจะเพิ่มขึ้นหลังจากสิ้นสุด
    สัญญาค้ำประกัน
  • การรับประกันร่วมถือเป็นการรับประกันเช่นกัน ทว่าข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดเมื่อเทียบกับการ
    รับประกันทั่วไปคือการรับประกันร่วมจะไม่มีสิทธิในการโต้แย้งข้อเรียกร้องหรือการอ้างอิงใด ๆ
  • สิทธิในการโต้แย้งข้อเรียกร้อง คือสิทธิที่จะขอให้เจ้าหนี้ทำการเรียกร้องให้ลูกหนี้หลักชำระเงิน
    ก่อน ในกรณีที่เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินโดยที่ยังไม่ได้เรียกร้องจากลูกหนี้หลัก
    ก่อน
  • สิทธิในการโต้แย้งการอ้างอิง คือสิทธิที่จะขอให้เจ้าหนี้บังคับเอาทรัพย์สินของลูกหนี้หลักก่อน
    แม้ว่าเจ้าหนี้จะขอให้มีการชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกันก็ตาม โดยผู้ค้ำประกันต้องทำให้เห็นว่าลูกหนี้
    หลักมีเส้นทางการเงินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับเอาทรัพย์สินจากลูกหนี้หลักก็สามารถ
    ดำเนินการได้โดยง่าย
  • เนื่องจากผู้ค้ำประกันร่วมไม่มีสิทธิในการโต้แย้งข้อเรียกร้องหรือการอ้างอิง จึงไม่สามารถปฏิเสธ
    การเรียกร้องให้ชำระหนี้แทนทันทีในวันครบกำหนดได้ ไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ชำระหนี้กับลูกหนี้
    หลักหรือมีการบังคับเอาทรัพย์สินหรือไม่ก็ตาม
  • เมื่อเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จะมีบทบัญญัติพิเศษในการเป็นผู้ค้ำประกันร่วมด้วยเป็นปกติ

00737

ถาม12:ฉันจำเป็นต้องรับชำระหนี้ให้ครอบครัวหรือไม่

การเป็นสมาชิกครอบครัวของลูกหนี้ไม่ถือว่ามีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้

 

(คำอธิบาย)

  • หากคุณเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเงินกู้ คุณจะต้องชำระเงินกู้แทน นอกจากนี้สัญญาค้ำประกันจะไม่
    มีผลบังคับใช้เว้นแต่จะมีการทำเป็นลายลักษณ์อักษร
  • เนื่องจากคู่สมรสมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินครัวเรือนรายวันร่วมกัน (ทั้งค่าอาหารและเครื่องดื่มใน
    ครอบครัว เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าน้ำ ฯลฯ) ตามกฎข้อบังคับทั่วไป แม้ว่าจะมีเพียงคู่
    สมรสฝ่ายเดียวที่เซ็นสัญญา คู่สมรสอีกฝ่ายก็ไม่สามารถจะปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะชำระหนี้
    แทนได้ ทว่า หากคู่สมรสต้องแยกกันอยู่เป็นเวลานานและมีค่าครองชีพแยกจากกันจนถือได้ว่า
    ความเป็นอยู่ร่วมกันจบสิ้นลง หลักการดังกล่าวจะไม่ถูกนำมาบังคับใช้
  • สมาชิกในครอบครัวไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ในนามของสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ แม้ว่าหนี้นั้น
    อาจเกิดจากการเล่นพนัน การติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติดก็ตาม การชำระหนี้ในนามของสมาชิก
    ในครอบครัวอาจทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญคือการกำจัดต้นเหตุแห่ง
    หนี้ด้วยการปรึกษากับบุคคลที่เกี่ยวข้องและเข้ารับการบำบัดการเสพติดในสถานพยาบาลเฉพาะ
    ทาง
  • สำหรับข้อมูลการรักษาอาการเสพติดและการส่งเสริมการฟื้นฟูจากอาการเสพติด โปรดติดต่อ
    ศูนย์สาธารณสุขหรือศูนย์สวัสดิการสุขภาพจิตในพื้นที่ของคุณ
  • หากคุณกำลังประสบปัญหาในการชำระหนี้ให้สมาชิกในครอบครัว โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณา
    คดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ

00771

ถาม13:ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายหนี้ฉันเลย ฉันควรจะทำอย่างไร

  • มีวิธีการแจ้งลูกหนี้อยู่ นั่นคือส่งจดหมายลงทะเบียนไปให้ลูกหนี้
  • หากลูกหนี้ไม่ดำเนินการตามจดหมายแจ้งดังกล่าว คุณสามารถใช้กระบวนการทาง
    กฎหมายได้ เช่น การร้องขอให้ชำระเงิน การประนอมหนี้ทางแพ่ง การฟ้องคดีแพ่ง หรือ
    การฟ้องศาลพิเศษเพื่อขอให้ชำระเงิน

 

(คำอธิบาย)

  • ในการยึดทรัพย์สินคู่กรณี คุณต้องมีเอกสารที่รับรองสิทธิ์ของคุณอย่างเป็นทางการ (หนังสือ
    แสดงหนี้) เช่น คำพิพากษาหรือคำแถลงยุติคดีของศาล หรือเอกสารรับรองที่มีบทบัญญัติให้บังคับ
    คดีได้
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนาย ผู้พิจารณาคดี หรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ

00867

ถาม14:ฉันให้เพื่อนยืมเงินโดยไม่ได้ทำ IOU เป็นหนังสือไว้ สัญญานี้จะตกเป็นโมฆะหรือไม่

สัญญานี้มีผลสมบูรณ์แล้ว สัญญาให้กู้หรือขอยืมเงิน (สัญญาเงินกู้) มีผลสมบูรณ์ แม้ว่าจะไม่มีการร่างสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

 

(คำอธิบาย)

  • ในการขอให้ชำระหนี้ตามกระบวนการทางกฎหมาย คุณจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าได้ทำสัญญาชำระ
    เงินแล้วหรือเงินถูกส่งมอบแล้ว
  • โดยปกติจะใช้ IOU เพื่อพิสูจน์
  • หลังจากได้ทำสัญญากันแล้ว หากผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้คืนหรือปฏิเสธสัญญาฉบับดังกล่าว คุณ
    จำเป็นต้องมีหลักฐานสัญญานั้นเพื่อให้ได้เงินคืน ในกรณีนี้ IOU สามารถใช้เป็นหลักฐานได้อย่างดี
    ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้ทำ IOU เมื่อคุณทำสัญญาเงินกู้
  • หากไม่มีหลักฐานการกู้ยืมโดยตรง ต้องใช้หลักฐานทางอ้อมมาพิสูจน์เงินกู้เพื่อร้องขอการชำระ
    หนี้เงินกู้ในศาล
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาทนายหรือผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ

00864

ถาม15:IOU ควรประกอบด้วยรายละเอียดใดบ้าง

ต่อไปนี้คือข้อมูลที่คุณควรเขียนลงใน IOU

(1) ชื่อผู้ให้กู้และผู้กู้

(2) จำนวนเงินกู้

(3) วันครบกำหนดชำระ

(4) หากคิดดอกเบี้ย ให้ระบุอัตราดอกเบี้ย

(5) วันที่ทำสัญญา

(6) ลายมือชื่อและตราประทับของผู้ให้กู้และผู้กู้

 

(คำอธิบาย)

  • ข้อตกลงในการให้กู้หรือข้อตกลงในการกู้เงิน จะเรียกว่าสัญญาเงินกู้และเอกสารที่พิสูจน์สัญญา
    เงินกู้นั้นจะเรียกว่า IOU
  • การระบุรายละเอียดของสัญญาเงินกู้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น IOU จะช่วยพิสูจน์ได้ว่าทั้งผู้กู้
    และผู้ให้กู้ได้ทำสัญญาแล้วว่ากู้เงินเมื่อไหร่ จำนวนเท่าใด และจะชำระคืนเป็นจำนวนเท่าไรเมื่อใด
  • โดยหลักการแล้ว สัญญาเงินกู้จะมีผลโดยการส่งมอบวัตถุแห่งหนี้ เช่น เงิน แก่ผู้กู้ ทว่าในกรณี
    ของสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการกู้ยืมเพื่อการบริโภค เช่น IOU ข้อตกลงจะมีผลเมื่อ
    ผู้ให้กู้สัญญาว่าจะส่งมอบเงิน ฯลฯ ให้กับผู้กู้ และผู้กู้ก็สัญญาว่าจะคืนของสิ่งเดียวกัน จำนวน
    เท่ากัน และคุณภาพเท่ากันให้กับผู้ให้กู้แม้ว่าจะยังไม่มีการส่งมอบเงิน ฯลฯ กันจริง ๆ

00862
 

ถาม16:ฉันเป็นชาวต่างชาติและฉันได้รับคำสั่งให้ชำระภาษีที่อยู่อาศัย แต่ตอนนี้ฉันว่างงานและไม่มีเงินจ่าย ฉันควรจะทำอย่างไร

ชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นมามากกว่า 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีปัจจุบันและมี
ที่อยู่หรือจัดอยู่ในประเภทผู้พำนักที่ต้องชำระภาษีที่อยู่อาศัย

หากคุณไม่ชำระเงิน คุณจะถูกเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในกรณีชำระเงินล่าช้า หาก
คุณกำลังประสบปัญหาในการชำระภาษี โปรดปรึกษาสำนักงานเทศบาล เทศบาลบางแห่ง
มีระบบผ่อนชำระภาษีที่อยู่อาศัย กรุณาสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่

 

(คำอธิบาย)

・ ภาษีเหล่านี้จะคำนวณจากรายได้ของปีที่แล้ว จึงไม่ต้องชำระภาษีที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปีที่
ชาวต่างชาติเข้ามาพำนักในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม หากคุณเดินทางออกจากประเทศ
ญี่ปุ่นก่อนสิ้นเดือนธันวาคม คุณจะต้องชำระภาษีที่ยังไม่ได้ชำระ ณ เวลานั้น ชาวต่างชาติที่พำนัก
อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปีและจัดอยู่ในประเภทผู้พำนักชั่วคราวจะได้รับการยกเว้น
ภาษีและไม่ต้องจ่ายภาษีที่อยู่อาศัย

03819

サブナビゲーションここから

Legal Information for Foreign Nationals(外国人のみなさまへ)


以下フッタです
ページの先頭へ