このページの先頭ですサイトメニューここから
このページの本文へ移動
サイト内検索

  1. トップページ
  2. Legal Information for Foreign Nationals(外国人のみなさまへ)
  3. บ้านและอสังหาริมทรัพย์
本文ここから

บ้านและอสังหาริมทรัพย์

更新日:2023年7月14日

โปรดอ่านก่อนใช้บริการ

  • คำถามที่พบบ่อยเป็นการแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระบบกฎหมายในญี่ปุ่นและไม่ได้ให้คำตอบกับคำถามที่เฉพาะเจาะจง
    นอกจากนี้ในกรณีของบางคนแล้ว ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นอาจนำมาใช้ไม่ได้
  • หากคุณต้องการทราบว่ามีคำถามที่พบบ่อยใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ที่นี่หรือไม่ หรือหากคุณต้องการปรึกษาปัญหาเฉพาะของคุณ โปรดติดต่อบริการข้อมูลหลายภาษา (0570-078377)
    ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยและบริการให้คำปรึกษาตามรายละเอียดคำถามของคุณ
  • โปรดทราบว่า Houterasu ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากการพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลตามคำถามที่พบบ่อย

เนื้อหา

ถาม01: ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ของฉันกำหนดให้ฉันจ่ายเงินประกันด้วย ฉันต้องจ่ายเงินนี้ไปเพื่อเหตุใด

คำว่า เงินประกัน”“เงินค้ำประกัน”“เงินค่าสิทธิ”“เงินมัดจำ หรือคำใดก็ตามที่ใช้ หมายถึงเงินที่ผู้เช่ามอบให้เจ้าของสถานที่เพื่อเป็นหลักประกันภาระผูกพันของผู้อาศัย (ผู้เช่า) เช่น ค่าเช่า เป็นต้น


(คำอธิบาย)

  • หลังจากสิ้นสุดการเช่าและผู้เช่าคืนบ้านให้เจ้าของสถานที่แล้ว เงินของผู้เช่าจะถูกหักออกจาก
    เงินประกัน และผู้เช่าจะได้รับเงินจำนวนที่เหลือคืน
  • ตัวอย่างหนี้สินที่สามารถหักออกจากเงินประกันได้ ได้แก่ ค่าเช่าค้างชำระเมื่อผู้เช่าย้ายออก และ
    ค่าซ่อมบ้านหากผู้เช่าทำผนังเสียหายหรือทำกระจกแตกโดยไม่ตั้งใจ
  • การเสื่อมสภาพตามธรรมชาติและการสึกหรอตามกาลเวลา เช่น เสื่อทาทามิและเครื่องติดตั้งที่
    ได้เสื่อมสภาพตามการใช้งานปกติตลอดหลายปีที่ผ่านมาจะไม่รวมอยู่ในหนี้สินที่สามารถหักออก
    จากเงินประกันได้
  • เจ้าของบ้านจะเรียกเก็บเงินจำนวนหนึ่งจากผู้เช่าในกรณีที่เกิดการค้างชำระค่าเช่า ค่าซ่อมแซม
    ความเสียหายที่เกิดจากการไม่ยอมดูแลรักษาบ้านของผู้เช่า และค่าขนย้ายทรัพย์สิน หากมีการ
    ค้างค่าเช่า ค่าซ่อมแซม ฯลฯ เงินหนี้สินเหล่านี้จะถูกหักออกไป และผู้เช่าจะได้รับเงินจำนวนที่
    เหลือคืน

00493
 

ถาม02: หากฉันลืมจ่ายค่าเช่า และเจ้าของบ้านสั่งให้ย้ายออกจากห้อง ฉันต้องย้ายออกหรือไม่

  • ความจำเป็นต้องย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่ามีการไม่ชำระเงิน
    ในขอบเขตที่ความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเจ้าของบ้านและผู้เช่าถูกละเมิด
    หรือไม่
  • หากลืมจ่ายค่าเช่าแค่ครั้งเดียว คุณก็ไม่ต้องย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น


 

(คำอธิบาย)

  • หากการไม่จ่ายค่าเช่ายังไม่ถึงขั้นที่ว่าจะละเมิดความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจ สัญญาเช่าจะไม่
    สามารถถูกบอกเลิกได้ โดยทั่วไปการไม่จ่ายค่าเช่าเป็นเวลาสามเดือนขึ้นไปถือเป็นการละเมิด
    ความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจ
  • แม้ว่าจะมีข้อกำหนดพิเศษที่ระบุว่าต้องย้ายออกจากอพาร์ตเมนต์ทันทีหากพลาดการชำระเงินแม้
    เพียงครั้งเดียว ก็อาจถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นโมฆะได้
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาทนายความ นักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ต่อไป

00547
 

ถาม03: ผู้เช่ามีหน้าที่อะไรบ้างในการรักษาสภาพบ้านเช่าให้เรียบร้อยเหมือนเดิม

เมื่อผู้เช่าย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าอยู่ ก็จะต้องรักษาสภาพบ้านเช่าให้เรียบร้อยเหมือนสภาพก่อนตนเองย้ายเข้ามา


(คำอธิบาย)

  • ภาระหน้าที่ในการทำให้อสังหาริมทรัพย์อยู่ในสภาพเดิมมิได้หมายถึงการคืนบ้านในสภาพที่
    “ใหม่แบบไม่เคยอาศัยมาก่อนเลย”
  • ความเสียหายไม่รวมถึงการสึกหรอที่เกิดจากการใช้งานตามปกติและกำไรจากอสังหาริมทรัพย์
    หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตามกาลเวลาปรกติ
  • หากความเสียหายเกิดจากปัจจัยที่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้เช่าไม่จำเป็นต้องส่งคืน
    อสังหาริมทรัพย์ในสภาพเดิม
  • กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน ขนส่ง และการท่องเที่ยว ได้อธิบายมาตรฐานกำหนดขอบเขต
    ภาระผูกพันในการส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเดิม โดยเรียกว่า “ปัญหาในการส่งคืนทรัพย์สินให้อยู่ใน
    สภาพเดิม และแนวทางที่เกี่ยวข้อง” แต่ประเด็นปลีกย่อยต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดในสัญญา
    ระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและบริบทต่าง ๆ ดังนั้นควรปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
    เพื่อขอทราบรายละเอียดต่อไป

00499
 

ถาม04: ผู้เช่าควรมีภาระผูกพันในการซ่อมสิ่งของแค่ไหนในการส่งคืนอสังหาริมทรัพย์ในสภาพเดิม

ในส่วนของมูลค่าอาคารที่เสื่อมลงอันเกิดจากการอยู่อาศัยหรือการใช้งานของผู้เช่า เป็นที่ทราบกันว่าภาระผูกพันในการซ่อมนั้นครอบคลุมการสึกหรอหรือความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทของผู้เช่า การละเมิดหน้าที่ที่ต้องดูแลรักษาให้ดี หรือการใช้งานใด ๆ ที่เกินกว่าขอบเขตปกติ

 

(คำอธิบาย)

  • แม้ว่ามักเกิดปัญหาที่มีรายละเอียดเฉพาะและแก้ไขได้ยากมาก แต่ผู้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
    สภาพของสิ่งที่คาดได้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าผู้เช่าจะอยู่อาศัยและใช้อสังหาริมทรัพย์ตามปกติก็
    ตาม
  • อย่างไรก็ตาม หากเป็นความเสียหายที่มีเจตนาจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ก็ต้องยอมรับภาระ
    ผูกพันในการซ่อมให้ดีดังเดิม
  • ตัวอย่างที่พบได้บ่อยคือเผลอไปทำกระจกแตก หรือทำกำแพงเป็นรูใหญ่โดยเจตนาเอาสิ่งของ
    ทิ่มเข้าไป


 00513

ถาม05: ฉันควรทำอย่างไรกับปัญหาเสียงรบกวน (เพลง เครื่องซักผ้า ฯลฯ) กับเพื่อนบ้านในอพาร์ตเมนต์ของฉัน

  • สิ่งแรกที่ต้องทำคือปรึกษาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือให้สมาคมการจัดการอาคารที่พัก
    (สมาคมผู้อยู่อาศัย) ร่วมกันหาทางออก คุณยังสามารถปรึกษาองค์กรระงับข้อพิพาท
    ส่วนตัว (ADR) ได้ด้วย
  • หากวิธีนี้ไม่ประสบความสำเร็จ คุณสามารถยื่นคำร้องต่อศาลในการไกล่เกลี่ยเพื่อขอ
    คำสั่งห้ามไม่ให้ส่งเสียงดังหรือเรียกค่าเสียหายได้
  • หากการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องยื่นฟ้องคดีแพ่ง

 

(คำอธิบาย)

  • หากสมาคมการจัดการได้รับการร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับเสียงรบกวน ก็อาจต้องกำหนดกฎ
    ในการอยู่อาศัยร่วมกับผู้อื่น เช่น จำกัดเวลาและวิธีใช้เครื่องเสียงสเตอริโอและเครื่องซักผ้า และ
    ควรย้ำให้แน่ใจว่าสมาคมการจัดการได้บังคับใช้กฎนี้จริง
  • ในการไกล่เกลี่ยและการฟ้องร้อง ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเสียงนั้นอยู่ใน “ระดับที่ยอมรับได้”
    หรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อเสียงรบกวนได้มากเกินระดับที่ยอมรับได้สำหรับชีวิตประจำวัน จึงจะถือ
    ว่าผิดกฎหมายและจะได้รับคำสั่งห้ามหรือจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย
  • ไม่ว่าเสียงจะอยู่ใน “ระดับที่ยอมรับได้” หรือไม่ก็ตาม จะพิจารณาจากการพิจารณาสถานการณ์
    อย่างครอบคลุม เช่น ความสัมพันธ์กับค่าตัวเลขที่กำหนดในข้อบังคับสาธารณะ ระดับของเสียง
    รบกวน ช่วงเวลาของวัน ผลประโยชน์ที่ถูกละเมิด และระดับของการละเมิด


 01728

サブナビゲーションここから

Legal Information for Foreign Nationals(外国人のみなさまへ)

このページを見ている人は
こんなページも見ています


以下フッタです
ページの先頭へ